HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

“เรื่องสิวๆ” ที่ไม่สิว ๆ !!!

June 27, 2016

“เรื่องสิวๆ” ที่ไม่สิว ๆ !!!

รู้หรือไม่?…สิวเกิดจากอะไร?

สิว (Acne) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง พบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น เกิดจากเซลล์ผิวหนังบริเวณรูขุมขนมีการแบ่งตัว และหลุดลอกผิดปกติ หรือต่อมไขมันมีการหลั่งไขมันมาก ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน จนเกิดเป็นสิวอุดตัน (Comedone) ซึ่งถ้าหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้สิวอักเสบ หรือเป็นหนองขึ้นได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวขึ้นมา

1. กรรมพันธุ์

2. การสร้าง และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Androgen ในร่างกาย ทำให้ต่อมไขมันมีการผลิตไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนวัย 11–14 ปี จะพบสิวมาก เพราะฮอร์โมนเริ่มสร้างในช่วงนี้

3. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน

4. การใช้เครื่องสำอางบางอย่างที่มีไขมันสูง เช่น ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด น้ำมันแต่งผม เป็นต้น อาจทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนได้

5. ล้างสิ่งสกปรกบนไม่หน้าไม่หมด เครื่องสำอางตกค้างบนใบหน้า จึงเกิดการอุดตัน

6. การระคายเคืองบนใบหน้า เช่น การเสียดสี ถูไถ นวดหน้า หรือล้างหน้า

7. ความเครียด และความกังวล อาจทำให้สิวเห่อได้

8. การทานอาหารบางชนิด อาจกระตุ้นให้สิวเกิด เช่น ถั่ว, ของหวาน, อาหารมัน และช็อกโกแลต เป็นต้น

9. สารเคมีบางชนิดที่อาจทำให้สิวเพิ่มขึ้น เช่น INH, Iodides, Bromide, Steroid เป็นต้น

ทางเลือกในการรักษาสิว

การใช้ยารักษาสิว โดยทั่วไปต้องใช้ยาสม่ำเสมอนาน 6–8 สัปดาห์ ถึงจะเริ่มเห็นผลดีขึ้น และอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน และยาทาสิวอาจทำให้เกิดอาการผิวแดง แห้ง ผิวลอกเล็กน้อย หรือบางคนอาจมีสิ่วเห่อในระยะแรกได้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรร่วมด้วยก่อนการใช้ยาใด ๆ

ยารักษาสิว มีหลายรูปแบบ ได้แก่

  • ยาทาเพื่อลดความมันบนใบหน้า สามารถช่วยลดการอุดตัน และการอักเสบได้ เช่น AHA, BHA และแป้งน้ำ
  • ยาทาเพื่อขจัดสิวอุดตัน เช่น ยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ ได้แก่ Tretinoin, Isotretinoin, Adapalene, Tazarotene
  • ยาทาเพื่อลดเชื้อแบคทีเรียในขุมขน และยาทาปฏิชีวนะ ในสิวอักเสบเป็นตุ่มแดง เช่น benzoyl peroxide หรือclindamycin
  • ยารับประทาน เช่น ยาปฏิขีวนะ หรือยากลุ่มวิตามินเอสังเคราะห์

** ควรใช้ยารับประทานกรณีมีสิวอักเสบมาก หรือมีแผลเป็น เพราะยารับประทานมักต้องใช้ติดต่อกันหลายเดือน และอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้านโรคผิวหนัง

  • การฉีดยาสเตียรอยด์รักษาสิว เข้าไปในสิว หรือตุ่มหนอง เช่น ยาIntratesional corticosteroids

****วิธีนี้ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย และมีผลข้างเคียง ถึงแม้สิวยุบเร็วจริง แต่สิวใหม่จะเกิดขึ้นตามมา เพราะสเตียรอยด์เป็นสารก่อสิว ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนใช้วิธีนี้

การเจาะรูบริเวณหัวสิว/กดหัวสิว เพื่อกำจัดหนอง และหัวสิวออกมา

สรุปแล้วสิวเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งถ้าหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้สิวอักเสบเป็นหนองขึ้นได้ และปัจจัยที่ช่วยให้สิวเกิดขึ้นมีมากมาย เช่น กรรมพันธุ์ ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในข่วงวัยรุ่น เป็นต้น

ซึ่งแนวทางการรักษาสามารถทำได้ทั้งใข้ยาทา ยารับประทาน หรือการกดหัวสิว อย่างไรก็ตามการรักษานั้นควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรร่วมด้วย เพราะถ้าหากใข้ยาไม่ถูกวิธีอาจเสี่ยงให้อาการเป็นหนักกว่าเดิม หรือทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้ค่ะ

สำหรับบทความหน้าเตรียมพบกับ 6 ข้อแนะนำการใช้ยาทารักษาสิว !!! + 7 วิธีป้องกันการเกิดสิว!!! กันนะคะ