HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

มะเร็งตับน่ารู้ ตอน2 ชนิด สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ

July 6, 2016

มะเร็งตับน่ารู้ ตอน2 ชนิด สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ

พบหลายสาเหตุมากมายที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดที่ตับ ทั้งจากไวรัสตับเสบชนิดบี และซี, สารพิษอัลฟ่าท๊อกซินที่ทำให้ตับอักเสบ, พยาธิใบไม้ในตับจากการทานอาหารสุกๆ ดิบๆ, สัมผัสสารเคมีไวนิลคลอไรด์ และเธเรี่ยมไดออกไซด์บ่อย หรือแม้กระทั่งเกิดจากการถูกทำลายเซลล์ตับตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา เป็นต้น แล้วแต่ละชนิดมีรายละเอียดอย่างไรนั้นตามไปอ่านกันดีกว่าค่ะ…

ชนิด และสาเหตุของมะเร็งตับ

มะเร็งตับแบ่งได้ 4 ชนิด ตามต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง

1. มะเร็งเซลล์ตับ เกิดขึ้นจากเซลล์ของตัวตับเอง มีต้นเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี เข้าไปทำลายเซลล์ตับโดยตรง เมื่อเซลล์ตับติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ เกิดเป็นแผลเป็นบนตับ จึงไปกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น และเช่นเดียวกันกับสารพิษอัลฟ่าท๊อกซิน ที่เกิดจากเชื้อราที่พบมากในถั่วอบแห้งและพริกแห้ง หากได้รับมาก ๆ จะทำให้ตับอักเสบ เซลล์ตับถูกทำลาย กลายเป็นตับแข็ง และกระตุ้นให้เกินมะเร็งที่เซลล์ตับได้เช่นกัน

2. มะเร็งท่อดีในตับ พบมากในผู้ป่วยที่มีถิ่นฐานมาจากอีสาน เพราะมีต้นเหตุมาจากพยาธิใบไม้ในตับจากการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาร้า ปลาส้ม ก้อยปลาเป็นต้น โดยพยาธิจะเข้าไปเติบโตในท่อน้ำดีในตับ วางไข่ขยายพันธุ์ต่อไป พยาธิจะผลิตสารพิษที่ทำให้ระคายเคือง เกิดการอักเสบซ้ำ ๆ นำไปสู่การทำลายรหัสพันธุกรรมของเซลล์ท่อน้ำดีกระตุ้นให้เกินมะเร็งที่เซลล์ตับได้เช่นกัน

3. มะเร็งหลอดเลือดในตับ เกิดขึ้นเพราะสัมผัสสารเคมีจำพวกไวนิลคลอไรด์ และเธเรี่ยมไดออกไซด์บ่อย ๆ เป็นสารเคมีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก เมื่อสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดจึงเป็นหน้าที่ของตับที่ต้องขับสารพิษ เมื่อได้รับสารพิษเป็นจำนวนมากทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย และหลอดเลือดตับอักเสบ และกระตุ้นให้เกินมะเร็งที่เซลล์ตับได้ในที่สุด

4. มะเร็งเซลล์ตับในตัวอ่อนมนุษย์ พบในเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี เกิดจากการผิดพลาดของรหัสพันธุกรรมในเซลล์ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ของมารดา เพราะมารดาได้รับสารพิษจำพวกโลหะหนัก ทำให้สารพิษเข้าสู่ทารกในครรภ์ไปทำลายเซลล์ตับของทารกตั้งแต่ก่อนกำเนิด และมักจะมาแสดงอาการเมื่อเด็กอายุครบ 3 ปี แต่มะเร็งตับชนิดนี้พบได้น้อยที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงเร่งให้เกิดมะเร็งตับ

  • ผู้ที่เป็นพาหะ หรือผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
  • ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง และผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีปะวัติในครอบครัว เคยเป็นมะเร็ง
  • ผู้ที่นิยมกินอาหารดิบ ๆ และปรุงรสอาหารด้วยถั่วบดและพริกแห้งคั่ว
  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดสารเคมีและโลหะหนักอยู่เสมอ ๆ