HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

มะเร็งปอด ตอน2 อาการ และแนวทางรักษา “มะเร็งปอด”

July 6, 2016

มะเร็งปอด ตอน2 อาการ และแนวทางรักษา “มะเร็งปอด”

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด (Lung Cancer) และจากสถิติพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดกว่า 80% เป็นผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือรับควันบุหรี่สะสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยที่เหลืออาจเป็นจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูดสารระเหยจากเคมีภัณฑ์ และสารระเหยที่ปนด้วยโลหะหนักบางชนิดบ่อยๆ, รับกันตภาพรังสีเสมอๆ หรือเคยเป็นวัณโรค ปอดอักเสบเรื้อรังมาก่อน เป็นต้น

มะเร็งปอดจะแสดงอาการเจ็บป่วยให้ได้รู้สึกตัว จะอยู่ในปลายระยะที่ 2 เข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว ซึ่งเป็นระยะที่เซลล์มะเร็งจากปอดกำลังจะแพร่ตัวผ่านต่อมน้ำเหลืองไปทั่วปอดทั้งสองข้าง และผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ ดังนี้….

สัญญาณเตือนมะเร็งปอด

มะเร็งปอดจะเริ่มแสดงอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้กระจายไปทั่วปอดข้างใดข้างหนึ่ง จนถุงลมและเนื้อเยื่อหุ้มปอดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป

  • ไอแห้งอย่างเรื้อรังโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ไอมากจนมีเลือดปนออกมา หรือมีเสมหะปนติดเลือดออกมาด้วย
  • เสียงแหบ เสียงหายโดยไม่มีสาเหตุ
  • เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หายใจได้ไม่เต็มปอด หายใจลำบาก
  • ต่อมน้ำเหลืองในร่างกายโตแบบไม่มีสาเหตุ
http://healthmeplease.com/hodgkins-disease.html
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • ใบหน้าบวมน้ำ คั่งน้ำ เพราะหลอดเลือดดำอุดตันทำให้ไหลเวียนได้ไม่สมบูรณ์
  • มีอาการคล้ายโรคปอดชนิดอื่น ๆ เช่น วัณโรค ปอดติดเชื้อ หลอดลมอักเสบ

การรักษามะเร็งปอด

มีหลากหลายวิธี ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ สภาวะร่างกายของผู้ป่วย ระยะของมะเร็งปอด และขนาดของเนื้อร้าย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะใช้วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ได้แก่…

1. การผ่าตัด แพทย์มักใช้การผ่าตัดในกรณีที่ก้อนเนื้อร้ายไม่ใหญ่มาก และไม่แพร่กระจายกินเนื้อปอดไปมากนัก

2. การฉายแสง ใช้แสงกัมมันตภาพรังสี ลงตรงเฉพาะจุดมะเร็ง เพื่อทำลายและยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

3. การใช้เคมีบำบัด หรือคีโม สำหรับระยะมะเร็งแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ โดยการให้สารเคมีผ่านทางหลอดเลือดหรือผ่านการกิน เพื่อให้ยาเคมีออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมะเร็งทั่วร่างกาย ผู้ป่วยต้องมีร่างกายแข็งแรงและกำลังใจดี เพราะผู้ป่วยไม่น้อยที่เสียชีวิตลงก่อนที่จะรับเคมีครบขั้นตอน

4. การใช้แสงเลเซอร์ และกรรมวิธี PDT(Photo-dynamic Therapy) เป็นวิธีรักษามะเร็งรูปแบบใหม่ ทันสมัยมากโดยให้ตัวยาที่มีฤทธิ์ไวต่อแสงชนิดหนึ่งกับผู้ป่วยมะเร็ง เซลล์มะเร็งที่มีอัตราเจริญเติบโตเร็วกว่าเซลล์ทั่วไป จึงซึมซับตัวยานี้มากกว่าเซลล์อื่น ๆ ทั่วร่างกาย จากนั้นนำแสงเลเซอร์มาฉายที่ก้อนมะเร็งโดยตรง แสงเลเซอร์จะทำปฏิกิริยากับตัวยาไวแสง โอกาสฆ่าเซลล์มะเร็ง 80–90% ปัจจุบันการรักษาแบบนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น และประสิทธิผลต่อมะเร็งชนิดต่าง ๆ อยู่

การรักษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ สภาวะร่างกายของผู้ป่วย ระยะของมะเร็งปอด และขนาดของเนื้อร้าย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์มันจะใช้วิธีผสมผลานกัน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด