ทำความรู้จัก สาเหตุ และสัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม”
โครงสร้างเต้านม ประกอบขึ้นจาก ต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวเป็นกระจุกอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง โดยมีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง ในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม มีถุงน้ำนมเรียงตัวกันเป็นพูอยู่ภายในเพื่อสะสมน้ำนมที่ผลิตได้ ซึ่งต่อมน้ำนมทุกต่อมมีท่อน้ำนมต่อเชื่อมไปออกที่ปลายหัวนม เป็นทางระบายออกนอกร่างกายให้ทารกดื่มกิน ทั้งหมดถูกหล่อเลี้ยงด้วยเลือดแดงจากผนังอก และท่อน้ำเหลืองที่เชื่อมไปถึงต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
เซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ซึ่งจะลุกลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้เป็นตำแหน่งแรก แล้วมะเร็งจึงแพร่ไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็วตามระบบท่อน้ำเหลือง แล้วถัดไปที่ปอด ตับ กระดูก โดยแพร่ตามหลอดเลือดแดง ซึ่งยากแก่การควบคุมและรักษาได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- ประวัติทางพันธุกรรมที่มีบุคคลสายเลือดเดียวกับเพศหญิง เคยเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งท่อนำไข มะเร็งเต้านม ฯลฯ ย่อมเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น
- ผู้หญิงที่มียีนผิดปกติ เช่น ยีนกลายพันธุ์ BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- มะเร็งชั้นดี
- ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเสริมต่อเนื่องยาวนาน
- ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมติดต่อกันอย่างต่อเนื่องยาวนาน หมายรวมทั้งแบบ กิน ฉีด ฝัง
- ความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าหญิงสาววัยรุ่น
- หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือหญิงที่มีบุตรหลังอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทำให้เซลล์ต่อมน้ำนมมีความหนาแน่นมากกว่าปกติ
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว เริ่มมีมาก่อนอายุ ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงอ้วนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและชอบกินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
- ผู้หญิงที่เคยได้รับสารกัมมันตภาพรังสีเกินกว่ามาตรฐานมาก่อน รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ และการรักษาด้วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ทุกแบบหรือผู้ที่ทำงานในสภาวะเสี่ยงต่อกัมมันตภาพรังสี
สัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
เป็นเหมือนมะเร็งทุกชนิดที่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ให้เรารู้สึก จนกว่าอาการจะพัฒนาไปถึงขั้นแพร่กระจายสู่ระบบอื่น ๆ แต่ผู้ป่วยสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ด้วยตนเองเบื้องต้น
- คลำพบก้อนเนื้อแข็งเป็นไตในเต้านม ซึ่งประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีอาการนี้จะตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม
- ผิวหนังของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่เรียบสนิท มีรอยบุ๋ม รั้งตัว หดตัว มีลักษณะเป็นผิวส้มเพราะหากมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นภายในเต้านม ผิวหนังของเต้านมจะถูกรั้งหรือดึงให้บุ๋มเข้าไปในเต้านมได้
- หัวนมหดตัวเล็กลง หรือมีผื่นแดงรอบหัวนม หรือมีอาการคันโดยไม่มีสาเหตุ
- ขนาดและรูปร่างเต้านมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนสังเกตเห็น
- มีความเจ็บปวดบริเวณเต้านมโดยไม่มีสาเหตุ ในขณะที่ไม่ใช่เวลามีประจำเดือน
- ต่องน้ำเหลืองใต้รักแร้บวมโต โดยเฉพาะรักแร้ข้างเดียวกับที่ตรวจพบก้อนเนื้อในเต้านม