HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

รู้หรือไม่…ฟอสฟอรัส…สำคัญอย่างไร?

July 14, 2016

รู้หรือไม่…ฟอสฟอรัส…สำคัญอย่างไร?

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย วิตามินดี และแคลเซียมมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของฟอสฟอรัส อัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสควรเท่ากัน 2:1 เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีของร่างกายเราในเกือบทุกส่วน ดังนี้

  • มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อโครงสร้างของกระดูกและฟัน ไนอะวินจะไม่สามารถถูกดูดซึมได้หากขาดฟอสฟอรัส
  • ฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจให้ทำงานอย่างปกติ และสม่ำเสมอ
  • มีสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของไต ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการส่งต่อสัญญาณประสาท

ฟอสฟอรัสมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

  • ช่วยในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • ช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน และกระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมันมีส่วยช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันและแป้ง
  • บรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ
  • ส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟัน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

โบนมีล (Bone meal) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากธรรมชาติที่มีฟอสฟอรัสสูง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการเติมวิตามินดีลงไป เพื่อให้ดูดซึมได้ดีขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญคือต้องไม่มีสารตะกั่วเจือปน

ขนาดที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 800–1,200 มก. หญิงตั้งครรภ์แบะให้นมบุตรจะต้องการมากกว่านี้

ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกายหากมีการรับประมานมากเกินไป แต่จะทำให้แร่ธาตุในร่างกายเสียสมดุลและอาจจะทำให้แคลเซียมในร่างการลดลง

โรคที่เกิดจากการขาดฟอสฟอรัส

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก และเหงือกอักเสบ

แหล่งจากธรรมชาติ

สามารถพบฟอสพอรัสได้จากอาหารจำพวก ปลา สัตว์ปีก เนื้อสัตว์ ธัญพืชไม่ขัดสี ไข่ ถั่ว และเมล็ดพืช

ศัตรู

การรับประทานธาตุเหล็ก อะลูมิเนียม และแมงกานีสมากเกินไป อาจทำให้ฟอสฟอรัสด้อยประสิทธิภาพลงได้

คำแนะนำ

หากคุณรับประทานฟอสฟอรัสมากเกินไป จะทำให้แร่ธาตุในร่างกายเสียสมดุล และยังส่งผลให้ระดับแคลเซียมลดลงด้วย โดยทั่วไปอาหารที่เรารับประทานมีฟอสฟอรัสสูงอยู่แล้ว เนื่องจากฟอสฟอรัสมีอยู่ในธรรมชาติเกือบทุกชนิด ดังนั้น แนวโน้มที่เราจะขาดแคลเซียมจึงพบได้บ่อย ควรระมัดระวังใรเรื่องนี้ และพยายามปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสม

หากคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ควรรับประทานเนื้อสัตว์ในแต่ละวันให้น้อยลง และพยายามรับประทานผักใบเขียวหรือดื่มนมแทน เนื่องจากว่าเมื่อเราอายุเกิน 40 ปี ไตจะไม่สามารถขับฟอสฟอรัสออกออกได้ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลให้แคลเซียมต่ำได้ ระมัดระวังในการรับประทานอาหารสำเร็จรูปที่มีการเติมฟอสเฟตเพื่อกันเสีย และอย่าลืมนับเป็นส่วนหนึ่งของฟอสฟอรัสที่คุณรับประทานด้วย