แคลเซียม (Calcium) บริโภคอย่างไรให้พอดี?
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคลเซียม
- แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย
- แคลเซียม และฟอสฟอรัสทำงานร่วมกัน เพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรง
- แคลเซียม และแมกนีเซียมทำงานร่วมกัน เพื่อสุขภาพของหัวใจและเส้นเลือด
- แคลเซียมในร่างกายเกือบทั้งหมด 2–3 ปอนด์ สะสมอยู่ในกระดูก และฟัน
- ร่างกายต้องมีวิตามินเพียงพอ แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้
- ขนาดแนะนำแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ 1,200 มก. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร 1,200–1,500 มก.และสำหรับผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี และผู้ชายอายุเกิน 65 ปี 1,500 มก.
ประโยขน์ของแคลเซียม
1. ช่วยให้กระดูก และฟันมีสุขภาพดี
2. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อม และกระดูกหัก
3. ลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
4. มีส่วนช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
5. บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
6. ช่วยในการเผาผลาญธาตุเหล็กของร่างกาย
7. ช่วยระบบประสาท โดยเฉพาะการส่งต่อสัญญาณแระสารท
8. ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
โรคจากการขาดแคลเซียม
โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) โรคกระดูกน่วม (Osteomalacia) ภาวะกระดูกพรุน หรืออาการกระดูกหักง่ายในผู้สูงอายุ
แหล่งจากธรรมชาติ
นม และผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ชีส ถั่วเหลือง เต้าหู้ ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอล ถั่วลิสง วอลนัท เมล็ดทานตะวัน ถั่วแห้ง ผักเคล บรอกโคลี กะหล่ำใบเขียว
อาการเป็นพิษ และสัญญาณเตือนว่ารับประทานแคลเซียมมากเกินไป
การรับประทานมากกว่า 2,500 มก. อาจก่อให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้ การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก และเพิ่มความเสี่ยงของนิ่วในไต และการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะอีกด้วย
ศัตรู
การรับประทานไขมัน อาหารที่มีกรดออกซาลิก (ช็อกโกแลต ผักขม ผักสวิสชาร์ด พาร์สลีย์ ผักบีต รูบาร์บ) กรดไฟติกที่พบในธัญพืช หากทานในปริมาณมากจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม