HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

แมกนีเซียม สำคัญอย่างไร และบริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม?

July 21, 2016

แมกนีเซียม สำคัญอย่างไร และบริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม?

“แมกนีเซียม” มีความจำเป็นต่อระบบการเผาผลาญของแคลเซียม และวิตามินซี เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มก. มีความจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ

มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน และช่วยคลายความเครียดได้ด้วย ส่วนคนที่ดื่มสุราเป็นประจำมักจะขาดแมกนีเซียม

ผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 250–500 มก. ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แนะนำ 300–355 มก. และร่างกายคนเรามีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 21 กรัม

ข้อดีต่อร่างกายของแมกนีเซียม

· ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน

· ช่วยต่อสู้กับอาการซึมเศร้า

· ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง และป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน

· ช่วยควบคุมระดับคอเรสเตอรอล

· ป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

· ช่วยลดความรุนแรงของอาการเจ็บจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pain

· ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

· ช่วยให้ฟันแข็งแรง

· ช่วยป้องกันการสะสมของแคลเซียม นิ่วในไต และนิ่วในถุงน้ำดี

· บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

· เมื่อรวมกับแคลเซียม ทำงานคล้ายเป็นยาสงบประสาทจากธรรมชาติ

แหล่งจากธรรมชาติ

ธัญพืชไม่ขัดสี มะเดื่อฝรั่ง อัลมอนด์ ถั่ว ผักสีเขียวเข้ม กล้วย เมล็ดธัญพืช อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นแหล่งอาหารที่มีแมกนีเซียมต่ำ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

แมกนีเซียม และแคลเซียมในปริมาณที่เท่า ๆ กัน เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด มีจำหน่ายในรูปแบบวิตามินรวมและแร่ธาตุ หรือหาซื้อในรูปแบบแมกนีเซียมออกไซด์ 250 มก./เม็ด โดยทั่วไปมีจำหน่ายในขนาด 133.3 มก. และรับประทาน 4 เวลา ไม่ควรทานหลังอาหารทันที เพราะจะไปลดกรดในกระเพาะอาหารได้

อาการเป็นพิษหากทานมากเกินไป

หากรับประทานเป็นปริมาณมากในระยะเวลาที่นาน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากเราทานแคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงด้วย หรือหากไตของเราทำงานได้ไม่ดี

ศัตรู

ยาขับปัสสาวะ แอลกอฮอล์

***ข้อควรระวัง***

หากคุณกำลังรับประมานยากลุ่มดิจิทัลลิส เพื่อรักษาโรคหัวใจ ยานี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายคุณได้ หากคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียม และโพแทสเซียม และพึงระลึกไว้ว่ายาหลายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะแอมิโนไกลโคไซค์ ซิลพลาทิน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ไซโคลสปอริน ยาขับปัสสาวะ ฟอสคาร์เน็ต เจ็นทาไมซิน และเพนทามิดีน