HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

สาระเกี่ยวกับ “โพแทสเซียม” (Potassium)

July 21, 2016

สาระเกี่ยวกับ “โพแทสเซียม” (Potassium)

มีความสำคัญอย่างไร? บริโภคอย่างไรจึงเหมาะสม?

โพแทสเซียม สำคัญอย่างไร?

  • โพแทสเซียมทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย และทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โพแทสเซียมทำงานในเซลล์ โซเดียมทำงานนอกเซลล์
  • การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะเสียไป หากระดับโซเดียม และโพแทสเซียมในร่างกายเสียสมดุล
  • ช่วยให้สติปัญญาแจ่มใส่ โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาภูมิแพ้

บริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม และข้อควรระวัง?

  • ไม่มีขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวัน แต่ขนาด 1,600–2,000 มก.ต่อวัน จัดว่าเพียงพอสำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง
  • การรับประทานปริมาณ 12 กรัมขึ้นไป ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
  • โดยปกติแล้ว หากโพแทสเซียมมากเกินไป จะถูกขับออกทางไต ผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง หรือรับประทานโพแทสเซียมเสริม

อาการบ่งบอกว่าขาดโพแทสเซียม?

เมื่อเราขาดโพแทสเซียมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรค บวม ไฮโปโกลซีเมีย ได้ ซึ่งทั้งความเครียดทางจิตใจ และร่างกาย ส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ทั้งสิ้น

แหล่งธรรมชาติของโพแทสเซียม

แหล่งโพแทสเซียมจากธรรมชาติ คือ ผลไม้รสเปรี้ยว แคนตาลูป มะเขือเทศ วอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน กล้วย มันฝรั่ง

ศัตรูของโพแทสเซียม

ศัตรูของโพแทสเซียม คือ แอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำตาล ยาขับปัสสาวะ

สาระอื่นๆ เกี่ยวกับโพแทสเซียม

1. หากคุณดื่มกาแฟเป็นปริมาณมาก คุณจะพบว่า แท้จริงแล้วอาการอ่อนล้าเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟนั้นเอง

2. ผู้ที่ดื่มจัด และคนที่ชอบรับประทานของหวาน ต้องระวังไว้ว่า ระดับโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้

3. หากคุณรับประทานยาขับปัสสาวะ คุณจะยิ่งเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากยิ่งขึ้นไปอีก

4. เอาใจใส่ในเรื่องอาหารของคุณ เพิ่มการรับประทานฝักใบเขียว และรับประทานโพแทสเซียมให้เพียงพอ เพื่อให้แร่ธาตุในร่างกายสมดุล

5. หากคุณลดความอ้วนด้วยการลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คุณอาจไม่ได้ลดเพียงแต่น้ำหนักตัวเท่านั้นแต่ระดับโพแทสเซียมในร่างกายยังลดลงด้วย ระวังอาการที่อาจเกิดตามมา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือตอบสนองช้า