6 คำแนะนำ เกี่ยวกับ “แมกนีเซียม” (Magnesium)
1. หากคุณเป็นคนที่ดื่มสุราเป็นประจำ แนะนำให้ทานแมกนีเซียมให้มากขึ้น และหากการออกกำลังกายในแต่ละวันทำให้คุณอ่อนล้า คุณอาจจะต้องการแมกนีเซียมมากขึ้น
2. ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเอสโทรเจนรูปแบบใดก็ตาม ควรรับประมาณอาหารที่มีแมกนีเซียมให้สูงมากขึ้น
3. หากคุณธัญพืชไม่ขัดสีถั่ว ผักสีเขียวเข้ม กล้วย เป็นประจำคุณอาจจะได้รับแมกนีเซียมมากพอแล้ว เช่นเดียวกับผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ใช้น้ำกระด้าง
4. หากคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงช่วยลดความดันโลหิตได้ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนรับประทานแมกนีเซียมเสริม
5. แมกนีเซียมทำงานร่วมกับวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้ดี และโดยตัวของแมกนีเซียมเองอาจทำให้ท้องร่วงได้ ดังนั้น ควรรับประทานร่วมกับแคลเซียม ในรูปแบบวิตามินรวม หรือในรูปแบบของแมกนีเซียมไกลซิเนต กลูโคเนต หรือซิเทรต
6. อย่าลืมว่าแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของเอนไซน์ที่ใช้วิตามินบี1 บี2 และบี6 ดังนั้น หากร่างกายขาดแร่ธาตุชนิดนี้ไป อาจส่งผลให้มีอาการที่เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบีได้ เช่น อาการชัก เป็นต้น
***ข้อควรระวัง***
หากคุณกำลังรับประมานยากลุ่มดิจิทัลลิส เพื่อรักษาโรคหัวใจ ยานี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายคุณได้ หากคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียม และโพแทสเซียม และพึงระลึกไว้ว่ายาหลายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะแอมิโนไกลโคไซค์ ซิลพลาทิน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ไซโคลสปอริน ยาขับปัสสาวะ ฟอสคาร์เน็ต เจ็นทาไมซิน และเพนทามิดีน