มารู้จักกับ ไทแอมีน (Thiamine) และอาหารที่มีไทแอมีนสูงกัน!
ไทแอมีน หรือรู้จักกันอีกชื่อ ก็คือ วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่พบได้มากในพืชและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ในร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ได้ จึงต้องบริโภคเข้าไป ไทแอมีนจะถูกดูดซึมไปเก็บไว้ในตับ แต่จะเก็บไว้ได้เพียง 18 วันเท่านั้น เราจึงต้องมีการทานเข้าไปอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
ไทแอมีนสำคัญอย่างไร
- ไทแอมีน เป็นวิตามินที่สำคัญมากในการช่วยให้ร่างกายดึงพลังงานจากอาหารมาใช้
- จำเป็นต่อการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- สำคัญมากต่อระบบประสาท โดยเฉพาะในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท
- หากขาดวิตามินตัวนี้ก็จะทำให้เกิดโรคเหน็บชาได้
- ดูแลปกป้องสุขภาพสายตา
- ดีต่อระบบลำไส้และการย่อยอาหาร
อาหารส่วนใหญ่มีไทแอมีนประกอบอยู่แล้วค่ะ ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับไทแอมีนต่อวันคือประมาณ
- 1.2 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย
- 1.1 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง
- 1.4-1.5 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันด้วย หากมีปัจจัยประเภท ความเครียด การออกกำลังกาย เจ็บป่วย หรือตั้งครรภ์ ก็จะทำให้ปริมาณไทแอมีนที่ร่างกายต้องการเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
อาหารประเภทไหนที่มีไทแอมีนสูง
- สาหร่าย (เช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า) — 1 ถ้วยมีปริมาณไทแอมีน 2.66 มิลลิกรัม
- ถั่วแมคคาเดเมีย — 1 ถ้วยมีปริมาณไทแอมีน 1.6 มิลลิกรัม
- ถั่วดำ — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.58 มิลลิกรัม
- ถั่วเลนทิลส์ — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.53 มิลลิกรัม
- ถั่วเหลือง — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.53 มิลลิกรัม
- ถั่วขาว — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.53 มิลลิกรัม
- ถั่วเขียว — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.42 มิลลิกรัม
- ตับวัว — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.32 มิลลิกรัม
- แอสพารากัส — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.3 มิลลิกรัม
- กะหล่ำดาว — 1 ถ้วยต้มสุกมีปริมาณไทแอมีน 0.16 มิลลิกรัม
และในอาหารอื่นๆ เช่น ผักปวยเล้ง มะเขือ มันฝรั่ง งา จมูกข้าว โยเกิร์ต และอื่นๆ
อย่าลืมทานอาหารที่มีไทแอมีนเป็นประจำ หรือเลือกทานอาหารเสริมที่มีไทแอมีนอยู่ด้วยนะคะ ^_^