HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

ยาถ่ายพยาธิ ทานอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย?

October 26, 2018

ยาถ่ายพยาธิ ทานอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย?

พยาธิ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนได้ยินมาตั้งแต่เด็ก และหลายๆ คนก็อาจเคยทานยาถ่ายพยาธิมาแล้วหลายชนิด บางคนมีพยาธิมากจนสามารถสังเกตได้บนผิวหนังของร่างกาย ทำให้เสียบุคลิก หากในบางราย รักษาไม่ทัน พยาธิจะเข้าไปอยู่ในอวัยวะสำคัญของร่างกาย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้

ยาถ่ายพยาธิ (Anthelmintic Drugs) นั้น จะออกฤทธิ์หยุดการเคลื่อนไหวของพยาธิ หรือทำให้พยาธิอดตาย จึงถูกร่างกายขับออกมาผ่านการขับถ่ายโดยง่าย ยาถ่ายพยาธิบางชนิด ก็สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการฟักตัวของไข่พยาธิได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนของพยาธิในร่างกายลง

ยาถ่ายพยาธิแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งใช้กับพยาธิต่างกันไป ดังนี้ :

  1. อัลเบนดาโซล— นิยมใช้โดยแพทย์ เพราะรักษาพยาธิได้เกือบทุกชนิดในไทย ทั้งพยาธิตัวกลม และพยาธิตัวตืด ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์
  2. มีเบนดาโซล — ใช้กำจัดพยาธิตัวกลม พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด
  3. ไอเวอร์เมคติน — ใช้รักษาพยาธิสตรองจิลอยด์ สเตอร์โคราลิส พยาธิไส้เดือน และสามารถรักษาเปลือกตาอักเสบ เหา หิด และโรคเท้าช้างได้
  4. พราซิควอนเทล — ใช้รักษาพยาธิใบไม้ต่างๆ

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาถ่ายพยาธิ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีไข้ต่ำๆ ผื่นขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น ลมพิษ ผิวลอก หายใจไม่ออก เป็นตุ่ม เหนื่อย มีไข้สูง เกิดแผลบริเวณใบหน้าหรือที่อวัยวะเพศ ให้หยุดและปรึกษาแพทย์ทันที

ก่อนใช้ยาถ่ายพยาธิ ต้องมีการตรวจให้แน่ชัดก่อนว่า ร่างกายติดพยาธิประเภทใด เพื่อการใช้ยาที่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากการใช้ยาถ่ายพยาธิผิดวิธี จนทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และยาแต่ละชนิดที่ใช้รักษาพยาธิได้หลายประเภท ก็มีปริมาณการใช้ยาต่างกันไป เพื่อรักษาพยาธิต่างชนิดกัน และไม่แนะนำให้ใช้ยาถ่ายพยาธิเพื่อป้องกันการติดพยาธิ