แผลสด แผลแห้ง ทำแผลต่างกันอย่างไร?
ในชีวิตประจำวัน แม้เราไม่อยากให้เกิด แต่อุบัติเหตุก็เกิดได้แบบที่เราไม่ทันตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ เช่น หกล้มเข่าถลอก มีดบาด ชนขอบโต๊ะ หรือจะเป็นอุบัติเหตุใหญ่ขึ้นมา เช่น รถล้ม ผิวฉีกขาดจากการใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งถ้าหากล้างทำความสะอาด และทำแผลไม่ดีแล้ว ก็อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ แต่ถ้าหากเรามีความรู้ในการทำแผลที่ถูกต้อง ก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น
แผลเปียก — คือแผลใหม่ แผลที่ยังไม่แห้ง มีสารขับหลั่งมาก
มีวิธีการทำแผลดังนี้ :
- เช็ดรอบๆ แผลด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ วนจากขอบแผลด้านในออกมาด้านนอกประมาณ 2–3 นิ้ว ไม่เช็ดวนซ้ำ และไม่เช็ดบนแผลโดยตรง
- เช็ดบริเวณที่เป็นแผลด้วยสำลีชุบน้ำเกลือล้างแผล วนจากด้านในออกด้านนอก เช็ดซ้ำจนกว่าแผลจะสะอาด
- ใส่ทิงเจอร์ หรือยาฆ่าเชื้อบริเวณแผล หากแผลยังมีสารขับหลั่งออกมามาก ให้ใช้ผ้าก๊อซชุบยาทำแผลปิดทับบนแผล ปิดแผลจนกว่าจะแห้ง และหากแผลเป็นหลุม ต้องใส่ผ้าก๊อซลงไปให้ถึงก้นแผล
- ปิดแผลด้วยผ้าปิดและยึดด้วยเทปตามแนวขวางของลำตัว
แผลแห้ง — คือแผลสะอาด แผลปิดที่ไม่มีอาการอักเสบ ไม่มีน้ำหรือสารขับหลั่งออกมาจากแผล
มีวิธีการทำแผล ดังนี้ :
- เช็ดรอบๆ แผลด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ วนจากขอบแผลด้านในออกมาด้านนอกประมาณ 2–3 นิ้ว ไม่เช็ดวนซ้ำ และไม่เช็ดบนแผลโดยตรง
- หากแผลยังมีสารขับหลั่งอยู่เล็กน้อย ให้ใส่ทิงเจอร์ หรือยาฆ่าเชื้อบริเวณแผล
- ปิดแผลด้วยผ้าปิดและยึดด้วยเทปตามแนวขวางของลำตัว
การทำแผลเองนั้นไม่ยากเลยค่ะ ที่สำคัญ อย่าลืมมีอุปกรณ์ทำแผลดีๆ ติดบ้านไว้เสมอด้วยนะคะ ^^