รายงาน ขย. ในคลิกเดียว
แก้ปัญหาการจัดทำรายงาน ขย. ให้สร้างได้ในคลิกเดียว
ในปัจจุบันการต่อใบอนุญาตร้านขายยาได้เปลี่ยนไป… หากใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับการต่อใบต่ออนุญาตร้านขายยามา จะทราบว่าทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการเปลี่ยนกฎการต่อใบอนญาตร้านยาใหม่ โดยแบ่งกระบวนการออกเป็น 3 เฟส หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่าบันได 3 ขั้น ซึ่งแต่ละขั้นจะทำการปรับระเบียบร้านขายยาและผู้ขายยาให้ตรงตามมาตรฐานใหม่ ซึ่งเฟส 3 นี้จะสิ้นสุดลงในปี 2565 หรืออีก 2 ปีที่จะถึงนี้
“ร้านขายยาจะต้องจะต้องมีระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องก้องกับการจัดหายา การจัดการคลังสินค้าและการจำหน่ายถูกต้องเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้”
ประเด็นอยู่ที่ตั้งแต่ในขั้นที่ 2 ยาทุกตัวที่ทางร้านขายยาจัดหาและขาย จะต้องทำรายงานการจัดการคลังสินค้าและการจำหน่ายให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งรายงานการจัดทำบัญชีซื้อยาและบัญชีการขายยา อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มีดังต่อไปนี้
1. บัญชีการซื้อยา (ขย.9)
บัญชีการซื้อยา หรือรายงาน ขย.9 เป็นเอกสารรายงานของสินค้าประเภทยาทุกประเภทที่เราซื้อเข้ามาสำหรับสต๊อกเก็บไว้ในร้าน เราจะต้องจัดทำบัญชียาเก็บไว้ทั้งหมด โดยแสดงรายละเอียด ลำดับที่ วัน เดือน ปีที่ซื้อ ชื่อผู้ขาย ชื่อยา เลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต จำนวนหรือปริมาณ รวมไปถึงลายมือผู้ปฎิบัติการให้ชัดเจน และทำการเก็บไว้เป็นหลักฐานในเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ซื้อ
2. บัญชีขายยาอันตราย (ขย.11)
บัญชีการขายยาอันตรายเฉพาะรายการขายยาที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนด คือยาตามที่กฏหมายกำหนดว่าเป็นยาอันตราย ซึ่งเมื่อมีการขายยาดั่งกล่าวเกิดขึ้น จำเป็นต้องจัดทำรายงานนี้ขึ้นมา และต้องเก็บรายงานนี้ไว้ ณ สถานที่ขาย สามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
- ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
- ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่ประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
- บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
- คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
- คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
- ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
- เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
- ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
- ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
- ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
- โปรเมทาซีน (Promethazine)
- ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
วัตถุประสงค์ของใบ ขย. 11 ก็เพื่อควบคุมการจำหน่ายยาที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ช่วยปรามและควบคุมร้านขายยาในการจ่ายยากลุ่มนี้ จะได้มีเครื่องมือในการควบคุม
3. บัญชีขายยาควบคุมพิเศษ (ขย.10)
บัญชีขายยาควบคุมพิเศษ หรือรายงาน ขย.10 เป็นรายงานของประเภทยาตามกฏหมายที่ถูกควบคุมเป็นพิเศษตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องกำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงลำดับที่ วัน เดือน ปีที่ซื้อ ชื่อผู้ขาย ชื่อผู้ซื้อ ชื่อยา เลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต จำนวนหรือปริมาณ รวมไปถึงลายมือผู้ปฎิบัติการให้ชัดเจน และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันขาย ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้หากร้านขายยาไม่มีการขายยาควบคุมพิเศษ จำเป็นต้องทำรายงาน ขย.10 ด้วย แต่บันทึกเอาไว้ว่า ไม่มีการซื้อและไม่มีการขายยาควบคุมพิเศษ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฎิบัติการด้วย
4. บัญชีขายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรขศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (ขย.12)
บัญชีขายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรขศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือรายงาน ขย.12 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องกำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงลำดับที่ วัน เดือน ปีที่ซื้อ ที่ขายยา ผู้สั่งยา (ชื่อ-สกุล ที่อยู่หรือทำงาน) ผู้ใช้ยา (ชื่อ-สกุล อายุ ที่อยู่) ชื่อยา เลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต จำนวนหรือปริมาณ รวมไปถึงลายมือผู้ปฎิบัติการให้ชัดเและทำการเก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันขาย
หากร้านขายยาไม่มีการขายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรขศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จำเป็นต้องทำรายงาน ขย.12 ด้วย แต่บันทึกเอาไว้ว่า ไม่มีการซื้อและไม่มีการขายยาควบคุมพิเศษ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฎิบัติการด้วย
จัดทำรายงาน ขย. ได้ง่ายจบในคลิกเดียว
เพื่อรองรับกับกฎหมาย GPP (Good Pharmacy Practice) การต่อใบต่ออนุญาตร้านขายยาที่กำลังจะเปลี่ยนไป แพลตฟอร์ม ARINCARE e-Pharmacy Platform จึงได้จัดทำระบบสร้างรายงาน ขย. ทุกรายงานที่ร้านขายยาจำเป็นต้องใช้ออกมาในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของร้านขายยาจัดทำรายงาน ขย. ออกมาได้โดยง่าย ไม่ต้องสร้างแบบฟอร์มเอกสารขึ้นมาเอง และไม่ต้องกรอกรายการยาเองแต่อย่างใด เพียงแค่เรา…
- เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.arincare.com/
- ล็อกอินเข้าใช้งาน “ระบบสต็อคสินค้า”
- คลิกไปที่หน้า “รายงาน“ เลือก “รายงาน ขย.”
- จากนั้นเลือก รายงานที่ต้องการสร้าง, สาขาของร้านขายยา, ผู้ปฎิบัติการ, ช่วงเวลาในการจัดซึ้อยา
- กด “ค้นหา”
- ระบบจะแสดงรายการยาที่เราซื้อและขายในช่วงเวลาดังกล่าวออกมาทั้งหมด
- จากนั้นก็กดปุ่มสั่งพิมม์ได้เลย ตัวแพลตฟอร์มรองรับการสร้างไฟล์เอกสารขึ้นมาทั้งหมด 2 แบบ คือไฟล์ PDF และ Excel
ข้อดีของการใช้ ARINCARE e-Pharmacy Platform ในการสร้างรายงาน ขย.
ARINCARE e-Pharmacy Platform เป็นแพลตฟอร์มสำหรับใช้จัดการบริหารร้านขายยา และยังถือเป็นพื้นที่สำหรับใช้เข้ามาเพื่อซื้อขายยาได้โดยตรง ซึ่งถือเป็นข้อดีและจุดแข็งของตัวแพลตฟอร์ม ทำให้เจ้าของร้านขายยาสามารถบันทึกรายการจัดซื้อจัดขายได้โดยง่าย และสร้างรายงาน ขย. ออกมาได้ถูกต้อง
- สร้างรายงาน ขย. ได้ถูกต้อง – สร้างรายงาน ขย. แต่ละแบบออกมาได้ตรงตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข กำหนดเอาไว้
- ไม่ต้องกรอกข้อมูลเอง – รายการซื้อขายยาทั้งหมดจะถูกบันทึกอัตโนมัติโดยตัวของระบบของแพลตฟอร์มเอง
- ข้อมูลถูกต้อง โปร่งใส เชื่อถือได้ – ข้อมูลรายการซื้อขายยาทั้งหมดของร้านขายยาจะถูกดึงออกมาจากตัวระบบที่ถูกเก็บไว้บนระบบ Cloud ซึ่งมีความปลอดภัย และไม่มีใครสามารถเข้าไปแก้ไขได้
- สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา – ระบบ ARINCARE e-Pharmacy Platform สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง จึงสามารถเข้าใช้งานบนอุปกรณ์อะไรก็ได้ ขอแค่มีเบราว์เซอร์ของ Chrome และอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เวลาว่างจัดทำเอกสาร ขย. ตอนไหนก็ได้ จากนั้นก็เซฟไฟล์ แล้วส่งไฟล์ไปเก็บไว้ในคอมที่ร้าน หรือที่เก็บไฟล์อื่นๆ ได้ในทันที
“รองรับข้อกฎหมาย GPP การต่อใบต่ออนุญาตร้านขายยาที่กำลังจะเปลี่ยนไปได้ง่ายๆ ด้วยการใช้งาน ARINCARE e-Pharmacy Platform เท่านั้น”
สำหรับผู้ที่สนใจ
คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลตัวแพลตฟอร์มทั้งหมด รวมไปถึงสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ : http://www.arincare.com/
ช่องทางการติดต่อ
- โทร : 064-226-6888
- E-mail : [email protected]
- Facebook : http://facebook.com/arincarecom
- LINE : @arincare (มี @ ด้วยนะคะ)