ทำไมคนเป็นเบาหวานควรดูแลสุขภาพเท้า
ทำไมคนเป็นเบาหวานควรดูแลสุขภาพเท้า
เบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดปัญหาต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น เหงือก ฟัน ตา ไต หัวใจ และระบบประสาทหลอดเลือดแดง ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรังนั้นมักมีหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เลือดไปเลื้ยงเท้าไม่พอจนอาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ทำให้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าลดลงหรือเกิดอาการปวดขณะเดินมากๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้
ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นแผลที่เท้าได้ง่าย
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ผิวหนังบริเวณส่วนขาแห้งคัน เมื่อเกิดการเกา จะมีแผลแตกและติดเชื้อได้ง่าย หรือเมื่อความรู้สึกที่เท้าลดลง ขณะเดินก็จะเกิดแผลได้ง่าย จะรู้ตัวอีกทีแผลก็ติดเชื้อลุกลามไปมาก ทำให้ยากต่อการรักษา ซึ่งบางคนแผลลุกลามถึงกับต้องตัดขาทิ้ง
สุขภาพเท้าสำคัญอย่างไรในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ประสาทรับรู้ความรู้สึกจะเสื่อมลงและทำงานได้ไม่ดี ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเป็นแผล และเสี่ยงต่อการเป็นแผลเรื้อรัง หรือแผลติดเชื้อที่รุนแรง และลุกลามอย่างรวดเร็วจนต้องตัดเท้าทิ้งในที่สุด
นอกจากนี้หากเท้าขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นระยะเวลานาน ยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย
วิธีดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- รับประทานยาควบคุมระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดการเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย
- ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด และสบู่อ่อนทุกวันหลังอาบน้ำ ไม่ความใช้แปรงขนแข็งขัดเท้า
- ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกนิ้วเท้า
- ตรวจดูเท้าทุกวันว่ามีอาการปวด บวม มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือเม็ดพอง โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า (ถ้ามองไม่เห็นอาจใช้กระจกส่อง) ซอกระหว่างนิ้ว และรอบเล็บเท้า เมื่อพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
- สวมรองเท้าตลอดเวลา ทั้งในและนอกบ้านป้องกันไม่ให้เกิดแผล ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้งควรตรวจสอบภายในก่อนว่ามีสิ่งแปลกปลอมใดที่ทำให้เกิดแผลได้หรือไม่เช่น กรวด ทรายเพราะแม้แต่แผลเล็กมากๆ จากรอยถลอกจากการถูกของแข็งจะทำให้เป็นแผลและหายช้า
- เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ รองเท้าจะต้องนิ่ม ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการเสียดสีเป็นแผล
- การตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง และตัดอย่างถูกวิธีโดยตัดขวางเป็นเส้นตรงให้พอดีกับเนื้อ ถ้าสายตาไม่ดี ควรให้ผู้อื่นช่วยตัดเล็บให้
- ทาโลชั่นเพื่อลดความแห้งแข็งของผิวหนัง และหลีกเลื่ยงการทาระหว่างซอกนิ้วเท้า
- ออกกำลังบริเวณขา และเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
- ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือตาปลาไม่ควรตัดเอง ควรตัดทุก 6-8 สัปดาห์
- กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ลุกลาม
รู้สึกไม่สบาย? เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องการยา? Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพ เเละจัดหาตัวแทนไปรับยาร้านขายยยามาตรฐานเพื่อนำไปส่งให้ที่บ้านของคุณได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล
เริ่มการปรึกษาได้ที่ >> https://bit.ly/medcareapp