ไอโอดีน รับประทานอย่างไรให้พอดี?
ไอโอดีน สำคัญอย่างไร?
สองในสามของไอโอดีนในร่างกายอยู่ในต่อมไทรอยด์ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ควบคุมระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย และไอโอดีนก็มีอิทธิพลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ดังนั้น หากร่างกายมีไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้ความคิดความอ่านช้าลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และขาดพลังงานในการใช้ชีวิต
ประโยชน์ของไอโอดีน
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก โดยการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน
- ส่งเสริมการเจริญเติบโต
- เพิ่มพลังงาน
- เพิ่มความกระตือรือร้น
- ช่วยให้สุขภาพ ผิว ผม เล็บ และฟัน แข็งแรง
ปริมาณรับประทานต่อวัน
ขนาดแนะนำในการรับประทานต่อวันคือ 150 มคก.ในผู้ใหญ่ (1 มคก. ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก.) และ 175–200 มคก. สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
แหล่งธรรมชาติของไอโอดีน
สามารถพบได้จาก สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล ผักที่ปลูกในดินที่มีธาตุไอโอดีนสูง หัวหอม และอาหารทะเลทุกชนิด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
มีจำหน่ายในรูปแบบแร่ธาตุรวม และวิตามินรวมชนิดออกฤทธิ์แรง ในขนาด 0.15 มก. สาหร่ายทะเลธรรมชาติเป็นแหล่งไอโอดีนเสริมอาหารที่ดี
อาการเป็นพิษหากรับประทานไอโอดีนมากเกินไป
ยังไม่ทราบอาการเป็นพิษจากไอโอดีนธรรมชาติ ถึงเช่นนั้นก็ไม่แนะนำให้รับประทานเกินกว่า 2 มก. และไอโอดีนในรูปของยาอาจเป็นอันตรายได้หากใช้ไม่เหมาะสม
ศัตรู
กระบวนการแปรรูปอาหาร ดินที่ขาดสารอาหาร
คำแนะนำ
- นอกจากการรับประทานสาหร่าย และไอโอดีนที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เกลือแร่รวม และวิตามินเสริมแล้ว ไม่แนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่มเติม นอกจากว่าแพทย์ของคุณแนะนำให้รับประทาน
- หากคุณอาศัยอยู่ในเขตซึ่งมีดินที่มีไอโอดีนต่ำควรใช้เกลือที่มีการเติมไอโอดีน
- หากเรารับประทานกะหล่ำปลีดิบปริมาณมาก ๆ ร่างกายอาจจะไม่ได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ เนื่องจากมีสารบางอย่างในกะหล่ำปลีที่ทำให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีนได้ไม่ดี ดังนั้นเราควรรับประทานผลิตภัณฑ์สาหร่ายเสริมอาหาร