มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 2 ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ลำไส้เล็กมีความยาว 22 ฟุต เป็นส่วนที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเกิดการดูดซึมสารอาหารทุกชนิด
ลำไส้เล็กมีภาวะเป็นด่างซึ่งเกิดจากความเป็นด่างสูง น้ำย่อยจากตับอ่อน และของเหลวที่ผนังลำไส้เล็กหลั่งออกมา สภาวะแวดล้อมที่เป็นด่างนี้จึงจำเป็นต่อขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการย่อยอาหาร และการดูดซึม
ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) ซึ่งเป็นส่วนทีต่อจากกระเพาะอาหารจัดเป็นส่วนแรกของลำไส้เล็ก ต่อเข้าสู่ ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) ยาวประมาณ 10 ฟุต ซึ่งต่อเข้ากลับ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ยาวประมาณ 10–12 ฟุต เมื่ออาหารกึ่งเหลวในลำไส้เล็กถูกบีบให้เคลื่อนตัวด้วยกระบวนการบีบรูด เรามักจะพูดว่าได้ยินเสียง ”ท้องร้อง” จริง ๆ แล้วท้อง หรือกระเพาะอาหารอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าบริเวณที่เกิดเสียงนั้น ซึ่งเรียกว่า “เสียงลำไส้บีบตัว (Borborygmi)”
ลำไส้ใหญ่ (Colon หรือ Large intestine)
เศษอาหารที่ออกจากลำไส้เล็กส่วนปลายเข้าสู่กระพุ้งไส้ใหญ่ (Cecum) บริเวณที่ลำไส้เล็กต่อกับลำไส้ใหญ่ อยู่ในรูปค่อนข้างเหลว รอยต่อบริเวณนี้จะมีกล้ามเนื้อที่เป็นลิ้นเปิด-ปิด ป้องกันไม่ให้เกิดการไหลย้อย สารอาหารถูกดูดซึมที่ลำไส้ใหญ่น้อยมาก ยกเว้นน้ำ
ลำไส้ใหญ่มีหน้าที่หลักเป็นอวัยวะที่เก็บ และดึงน้ำออกจากที่เหลือจากการย่อย เศษอาหารที่เข้ามาในสภาวะของเหลวจะเริ่มกลายเป็นกึ่งเหลวเมื่อน้ำถูกดูดกลับ ใช้เวลา 12–14 ชั่วโมงกว่าเศษอาหารจะเลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
ขณะที่ภายในกระเพาะอาหารปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ใด ๆ แต่ในลำไส้ใหญ่มีประชากรแบคทีเรียอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น เรียกว่าแบคทีเรียเจ้าถิ่น Flora ส่วนใหญ่ของอุจจาระประกอบด้วยแบคทีเรีย เศษอาหารที่ไม่ย่อยโดยเฉพาะเซลลูโลส รวมทั้งสารที่ถูกกำจัดออกจากเลือดและขับออกทางผนังลำไส้