รู้ใจตัวเองรึยัง ???????
โรคหัวใจ คืออะไรกัน…และหน้าที่ของหัวใจ?
หนี่งในสามโรคประจำวัยในผู้สูงอายุ ที่เรียงตามกันมาหาผู้ป่วย เบาหวาน — ความดันโลหิตสูง — หัวใจ โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด Top 3 ของทุกปีเสมอ ๆ
โรคหัวใจ เป็นชื่อเรียกรวมของกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจอย่างกว้าง ๆ
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจนั้นมีหลายโรค ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด, โรคหัวใจในเด็กหลังคลอด, โรคลิ้นหัวใจรั่ว, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหลอดเลือด, โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง, ภาวะหัวใจโต, และยังมีโรคหัวใจอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุดในร่างกาย แต่หัวใจก็ยังเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องมีเลือดมาหล่อเลี้ยง นำสารอาหารและออกซิเจนมาให้ เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจสันดาปออกมาเป็นพลังงาน แล้วบีบรัดตัวจนหัวใจเต้นเป็นจังหวะ ๆ เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตตามจังหวะคลื่นไฟฟ้า ที่ถูกส่งตรงลงมาจากระบบควบคุมการเต้นหัวใจในก้านสมอง
หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง มีกล้ามเนื้อเรียงรายอยู่รอบ ๆ ทั้ง 4 ห้อง มีลิ้นหัวใจทั้ง 4 เปิดปิดเป็นประตูอยู่ด้านล่างของแต่ละห้อง และกล้ามเนื้อโดยรอบนั้น มีหลอดเลือกวางตัวอยู่บนผิวด้านนอกเพื่อนำมาหล่อเลี้ยงหัวใจทั้งดวง
หลอดเลือดที่นำมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3–4 ซม. แตกแขนงซ้าย-ขวาออกไปเป็นเส้นเลือดฝอย เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจแต่ละซีก หากหลอดเลือดที่นำมาเลี้ยงหัวใจนี้ถูกทำให้ตีบ ทำให้อุดตัน จะทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือด อากาศ สารอาหาร จนไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบางส่วนเพราะขาดเลือด และอาจจะถึงแก่ชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายได้ในที่สุด