ระบบย่อยอาหาร

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 1 ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร

https://mirandaswellness.com/2014/04/22/going-with-your-gut-part-1-the-mouth/ ปาก เริ่มต้นด้วยการเคี้ยวบดอาหาร และการผสมรวมกับน้ำลาย เอนไซม์ที่มีชื่อว่า “ไทยาลิน” ในน้ำลายเริ่มกระบวนการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/yoiarhan.htm http://www.bbc.co.uk/education/guides/zwqycdm/revision/3 หลอดอาหาร จากนั้นอาหารจึงถูกส่งผ่านไปยังส่วนของช่องปาก และต่อลงไปยังหลอดอาหาร เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการบีบรูด Peristalsis ซึ่งเป็นกระบวนการคล้าย ๆ กับรีดนมวัว สลับกับการคลายเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนอาหารไปตลอดทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับและเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยเอนไซม์แต่ละตัว เนื่องเอนไซม์แต่ละตัวไม่สามารถทำงานข้ามหน้าที่กันได้ http://www.pw.ac.th/main/website/sci/3_data.htm ทางเดินอาหารเรามีลิ้นเปิด-ปิดตามบริเวณลอยต่อที่สำคัญ ลิ้นเล็ก ๆ ที่ส่วนปลายของหลอดอาหารจะเปิดนานพอที่จะให้ชิ้นส่วนอาหารที่ผ่านการเคี้ยวมาแล้วเข้าสู่กระเพาะ ในบางครั้งโดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร ลิ้นนี้จะคลายตัว ส่งผลให้คุณเรอออกมา...

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 2 ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

http://www.healthcareglobal.com/finance/2077/The-six-most-expensive-medical-procedures-as-of-2015 ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ลำไส้เล็กมีความยาว 22 ฟุต เป็นส่วนที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเกิดการดูดซึมสารอาหารทุกชนิด ลำไส้เล็กมีภาวะเป็นด่างซึ่งเกิดจากความเป็นด่างสูง น้ำย่อยจากตับอ่อน และของเหลวที่ผนังลำไส้เล็กหลั่งออกมา สภาวะแวดล้อมที่เป็นด่างนี้จึงจำเป็นต่อขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการย่อยอาหาร และการดูดซึม http://www.organsofthebody.com/small-intestine/ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) ซึ่งเป็นส่วนทีต่อจากกระเพาะอาหารจัดเป็นส่วนแรกของลำไส้เล็ก ต่อเข้าสู่ ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) ยาวประมาณ 10 ฟุต ซึ่งต่อเข้ากลับ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ยาวประมาณ 10–12 ฟุต เมื่ออาหารกึ่งเหลวในลำไส้เล็กถูกบีบให้เคลื่อนตัวด้วยกระบวนการบีบรูด เรามักจะพูดว่าได้ยินเสียง ”ท้องร้อง” จริง ๆ แล้วท้อง...

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 3 ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน

http://drinkingalkalinewater.com/การล้างพิษตับ.html ตับ (Liver) ตับเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นชิ้นจับต้องได้ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย หนักประมาณเกือบ 2 กิโลกรัม เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเคมีที่หาที่เปรียบไม่ได้ ตับสามารถปรับโครงสร้างทางเคมีของสารเกือบทุกชนิด เป็นอวัยวะขับสารพิษที่ทรงพลังสามารถย่อยสลายโมเลกุลของสารพิษหลากหลายประเภท และเปลี่ยนให้สารเหล่านั้นไม่มีอันตราย ตับยังเป็นคลังเก็บเลือด และเป็นอวัยวะที่เก็บสะสมวิตามิน เช่น เอและดี รวมไปถึงแป้งที่ย่อยสลายแล้ว (ไกลโคเจน) ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ตับเป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ คอเลสเตอรอล โปรตีน วิตามินเอจากแคโรทีน และสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว หน้าที่หลักอีกอย่างคือการสร้างน้ำดี น้ำดีประกอบด้วยเกลือที่ช่วยในการย่อยไขมัน โดยผ่านกระบวนการอีมัลซิฟิเคชัน (การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน) http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/02/X10220544/X10220544.html...