ไนอะซิน

วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน มีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร?

http://siampill.com/th/information/news.html?news_id=38 วิตามินบี, 3ไนอะซินาไมด์, กรดนิโคตินิก, นิโคตินาไมด์ เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของครบครัวบีรวม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.) ร่างกายสามารถสร้างไนอะซินขึ้นเองได้โดยใช้กรดแอมิโนทริปโตแฟน ผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี1 บี2 และบี6 จะไม่สามารถสร้างไนอะซินจากทริปโตแฟนได้ การขาดไนอะซินส่งผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงได้ ปริมาณที่แนะนำต่อวัน อยู่ที่ 13–19 มก.สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนสตรีให้นมบุตร ขนาดแนะนำคือ 20 มก. ไนอะซินมีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ (เอสโทรเจน โพรเจสเทอโรน เทสทอสเทอโรน) เช่นเดียวกับคอร์ติโซน ไทรอกซิน...

วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน บริโภคอย่างไรจึงเหมาะสม?

http://www.evitamins.com/encyclopedia/assets/nutritional-supplement/vitamin-b-complex/~default ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวางจำหน่ายในรูปของไนอะซิน อินอซิทอลเฮกซานิโคติเนต (IHN) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไนอะซินแบบไม่ร้อนวูบวาบ” และไนอะซินาไมด์ (คุณสามารถลดอาการวูบวาบได้โดยการรับประทานในขณะที่มีอาหารอยู่ในกระเพาะ) มีทั้งแบบที่เป็นอัด แคปซูล และผง ในขนาด 50–1,000 มก. วิตามินบีรวม และวิตามินรวมอย่างดี มักมีไนอะซินรวมอยู่ด้วย 50–500 มก. (ดูที่ฉลาก) อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากเกินไป ไนอะซินปริมาณมากจะมีผลต่อการควบคุมระดับกรดยูริกในร่างกาย อาจทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเกาต์มีอาการปวดข้อขึ้นได้ http://www.thaihealth.or.th/Content/24621-%60ความน่ากลัวของโรคเกาต์%60%20(ตอน%201).html ระดับไนอะซินในร่างกายที่สูงยังส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย อาจทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานมีปัญหาเรื่องการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ หรือส่งผลให้อาการของโรคแสดงออกชัดเจน...