HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

โรคเกาต์เกิดจากอะไร

June 21, 2016

โรคเกาต์เกิดจากอะไร

“โรคเกาต์” เป็นหนึ่งในโรคที่คนไทยรู้จักกันดี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มักมีอาการปวดตามไขข้อ หลายคนเข้าใจว่าอาการของโรคนี้เกิดจากการรับประทานสัตว์ปีกหรือเครื่องในสัตว์มากจนเกินไป บ้างก็บอกว่าโรคนี้เป็นอาการที่ติดมาทางพันธุกรรม เรามาทำความรู้จักกันค่ะว่าโรคเกาต์ที่จริงแล้วมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่

ที่มาสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์

โรคเกาต์เกิดจากความผิดปกติ ในขบวนการเมตะบอลิสซึมของกรดยูริกในร่างกายเป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงมากกว่าปกติ แล้วเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต(mono sodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย มีลักษณะเป็นก้อนปูดออกมาบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ข้อ เรียกว่า “ปุ่มโทฟัส”

ซึ่งภาวะกรดยูริกสูงเป็นผลพวงมาจากการขาดยีน(Gene) ที่ทำหน้าที่สลายกรดยูริก หรือร่างกายมีการขับกรดยูริกออกน้อยลง ซึ่งกรดยูริกเหล่านี้ก็เข้าสู่ร่างกายของเราได้จากการสลายโปรตีน หรือทานอาหารที่มีพิวรีนสูงจำพวกเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารทะเล ดังนั้นจึงเป็นที่มาของความคิดที่ว่าโรคเกาต์มาจากอาหารประเภทนี้ค่ะ

Ÿ การรักษาโรคเกาต์นั้นเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การใช้ยา โดยใช้ยาลดกรดยูริก ทำให้ผลึกเกลือยูเรตที่สะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายละลายออกมา เพื่อรักษาระดับกรดยูริกในเลือดให้ต่ำ ยาที่ลดระดับกรดยูริกมี 2 ชนิดคือ

  • ยาเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต ได้แก่ ยาโพรเบเนซิด ยาเบนซ์โบรมาโรน และยาซัลฟิลพัยราโซน
  • ยายับยังการสร้างกรดยูริก ได้แก่ ยาAllopurinol ซึ่งการให้ยาลดกรดยูริกจะต้องปรับขนาดยาสม่ำเสมอ

2.. การไม่ใช้ยา

  • ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยการขับกรดยูริกออกทางไต
  • งดการดื่มสุรา และแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ลดการทานอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล

*** ไม่จำเป็นต้องงดเนื่องจากมีการศึกษาพบว่า การทานอาหารที่ไม่มีสารพิวรีนเลยทำให้ระดับกรดยูริกในร่างกายลดลงเพียง 1.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เท่านั้น ***

Ÿ ข้อปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคเกาต์กำเริบ

  • สอบถามปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการรักษา และวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
  • ทานยาสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยา ปรับขนาดยา หรือซื้อยาทานเอง เพราะอาจควบคุมโรคได้ไม่ดี หรือพบอาการแพ้ยาได้ หากพบอาการผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์
  • ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด เพื่อดูระดับกรดยูริก ตลอดจนการทำงานของตับ และไต ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนยาตามความเหมาะสม
  • หากมีโรคแทรกซ้อน ควรนำยาที่ทานอยู่ไปให้แพทย์ดูทุกครั้ง
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายที่กระแทกข้อรุนแรง
  • ไม่ควรบีบ นวด ดู บริเวณข้อ เพราะอาจทำให้ข้ออักเสบได้
  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2–3 ลิตร
  • **อย่างไรก็ตามโรคเกาต์นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาที่ไม่ถูกทางอาจทำให้โรครุนแรงขึ้น ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการปฏิบัติตัว และรับยาที่ถูกต้อง รวมถึงการให้ความร่วมมือในการักษา และติดตามนัดอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้โรคนั้นดีขึ้นค่ะ***
Leave a comment