ยา”พารา” กินอย่างไรให้ไม่ทำลายสุขภาพ!
คงจะเป็นยาที่ได้ชื่อว่า สามัญประจำบ้าน ประจำโต๊ะทำงาน หรือแม้แต่ประจำกระเป๋าที่สุดแล้ว ยาพารา หรือ พาราเซตามอล เป็นยาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดเบื้องต้นระดับอ่อนถึงปานกลาง ลดไข้ ลดอาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน มีผลข้างเคียงน้อย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เรียกได้ว่า คิดอะไรไม่ออก ก็กินยาพารากันไว้ก่อน
แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะนับว่าปลอดภัยอย่างไร แต่การใช้ยามากเกินความจำเป็นหรือใช้มากเกินไปในแต่ละครั้งก็อาจนำไปสู่ภาวะ ความเป็นพิษต่อตับ (hepatotoxicity) จนไปถึง ภาวะตับวายอย่างเฉียบพลัน (acute liver failure)ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
เราควรจะกินยาพาราเซตามอลอย่างไรให้เหมาะสม?
การทานยาพาราไม่ใช่ว่าทานมากแล้วจะช่วยลดอาการปวด หรือลดอาการได้มากอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกัน โดยคร่าวๆ แล้วมีวิธีการคำนวณปริมาณการทานยาต่อน้ำหนักตัวคือ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณยา 10–15 กรัม
ดังนั้น หากท่านซื้อยาพาราเซตามอล ขนาดปกติ 500 มก. จากร้านขายยา สามารถคำนวณการทานดังนี้
- หากท่านมีน้ำหนักตัว 34–50 กิโลกรัม ให้ทานยา 1 เม็ด ได้ทุกๆ 4–6 ชั่วโมง
- หากท่านมีน้ำหนักตัว 50–75 กิโลกรัม ให้ทานยา 1 เม็ด ได้ทุกๆ 4–6 ชั่วโมง ไม่เกิน 4–5 ครั้งต่อวัน
- หากท่านมีน้ำหนักตัว 75 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ทานยา 2 เม็ด ได้ทุกๆ 4–6 ชั่วโมง ไม่เกิน 3–4 ครั้งต่อวัน
ในผู้ใหญ่ ห้ามทานเกิน 4,000 มก./วัน หรือไม่เกิน 8 เม็ด หากใช้ในการบรรเทาปวดควรใช้ไม่เกิน 5 วัน และใช้ในการลดไข้ไม่เกิน 3 วัน หากเกินกว่านั้น แนะนำให้พบแพทย์ค่ะ
แต่หากท่านเป็นขาดื่ม เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับ ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดบางชนิด หรือยากันชัก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาพาราเซตามอล และอ่านฉลากก่อนเริ่มใช้ยาเสมอนะคะ ^^*