ปวดกล้ามเนื้อ กินยาอะไรช่วยดี?
กล้ามเนื้อเคล็ด หรือเจ็บปวด ไม่ว่าจากการออกกำลังกาย หรือเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ทำให้เกิดอาการอักเสบภายในกล้ามเนื้อ ประคบแล้ว นวดยาแล้วทั้งร้อนและเย็น อาการก็ยังไม่หายสนิท เราจะสามารถทานยาอะไรบรรเทาได้บ้าง?
ยาแก้อาการปวดกล้ามเนื้อมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
กลุ่มยาชนิดนี้ จะช่วยยับยั้งอาการอักเสบ โดยการยับยั้งเอนไซม์ไซโลออกซิเจน ซึ่งเป็นสื่อกลางตอบสนองการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด จึงช่วยลดอาการอักเสบและเจ็บปวดได้ ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ไอบูโพรเฟน แนะนำให้ทานยา 400–800 มก. ทุกๆ 6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3,200 มก. ต่อวัน ทานต่อเนื่องไม่เกิน 10 วัน ยาไอบูโพรเฟนอาจระคายเคืองกระเพาะ ไม่ดีกับผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคไต สตรีตั้งครรภ์ใกล้คลอด และอยู่ในระยะให้นมบุตร หรือทานยา แอสไพริน ปริมาณ 500–1,000 มก. ทุกๆ 4–6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5,000 มก. ต่อวัน หรือเลือกทานยา พาราเซตามอล หากผู้ป่วยแพ้ แอสไพริน
2. ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)
หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่ทราบสาเหตุชัดว่าเกิดจากอะไร ให้ทานยาที่ 325–650 มก. ทุกๆ 4–6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 4,000 มก. ต่อวัน ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะเกิดพิษต่อตับได้
ยาในกลุ่มนี้ ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน ไม่เหมาะกับอาการปวดเรื้อรัง กลุ่มยาที่วางจำหน่าย เช่น Chlorzoxazone ปริมาณการทาน 250–500 มก. วันละ 4 ครั้ง ยา Methocarbamol ทาน 1–3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง
4. ทรามาดอล (tramadol)
เป็นยาที่เหมาะสมหากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก แต่เป็นยาอันตราย ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างใกล้ชิด