ยาและสุขภาพ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับยา การใช้ยา ความงาม และการดูแลสุขภาพ

แคลเซียม (Calcium) บริโภคอย่างไรให้พอดี?

https://www.reference.com/health/can-adult-drink-much-milk-b3d0ef978543107 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย แคลเซียม และฟอสฟอรัสทำงานร่วมกัน เพื่อให้กระดูกและฟันแข็งแรง แคลเซียม และแมกนีเซียมทำงานร่วมกัน เพื่อสุขภาพของหัวใจและเส้นเลือด แคลเซียมในร่างกายเกือบทั้งหมด 2–3 ปอนด์ สะสมอยู่ในกระดูก และฟัน ร่างกายต้องมีวิตามินเพียงพอ แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ ขนาดแนะนำแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ 1,200 มก. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร 1,200–1,500 มก.และสำหรับผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี และผู้ชายอายุเกิน 65 ปี...

แมกนีเซียม สำคัญอย่างไร และบริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม?

http://www.newsmax.com/FastFeatures/magnesium-food-sources/2014/09/14/id/593363/ “แมกนีเซียม” มีความจำเป็นต่อระบบการเผาผลาญของแคลเซียม และวิตามินซี เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มก. มีความจำเป็นต่อการทำงานของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน และช่วยคลายความเครียดได้ด้วย ส่วนคนที่ดื่มสุราเป็นประจำมักจะขาดแมกนีเซียม ผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 250–500 มก. ทุกวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แนะนำ 300–355 มก. และร่างกายคนเรามีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 21 กรัม http://craventhecity.com/its-time-to-stop-the-gushing/ ข้อดีต่อร่างกายของแมกนีเซียม · ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน...

6 คำแนะนำ เกี่ยวกับ “แมกนีเซียม” (Magnesium)

http://www.mymagnesiumdeficiency.info/best-magnesium-supplement/ 1. หากคุณเป็นคนที่ดื่มสุราเป็นประจำ แนะนำให้ทานแมกนีเซียมให้มากขึ้น และหากการออกกำลังกายในแต่ละวันทำให้คุณอ่อนล้า คุณอาจจะต้องการแมกนีเซียมมากขึ้น 2. ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเอสโทรเจนรูปแบบใดก็ตาม ควรรับประมาณอาหารที่มีแมกนีเซียมให้สูงมากขึ้น http://asianetindia.com/bad-effects-of-emergency-contraceptive-pills/ 3. หากคุณธัญพืชไม่ขัดสีถั่ว ผักสีเขียวเข้ม กล้วย เป็นประจำคุณอาจจะได้รับแมกนีเซียมมากพอแล้ว เช่นเดียวกับผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ใช้น้ำกระด้าง http://blog.diabetv.com/can-a-person-with-diabetes-eat-bananas/ 4. หากคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงช่วยลดความดันโลหิตได้ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนรับประทานแมกนีเซียมเสริม 5. แมกนีเซียมทำงานร่วมกับวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้ดี และโดยตัวของแมกนีเซียมเองอาจทำให้ท้องร่วงได้ ดังนั้น ควรรับประทานร่วมกับแคลเซียม ในรูปแบบวิตามินรวม หรือในรูปแบบของแมกนีเซียมไกลซิเนต กลูโคเนต...

ทำความรู้จักกับ “แมงกานีส” แร่ธาตุที่มีประโยชน์หลากหลาย

https://authoritynutrition.com/does-meratrim-work/ แมงกานีส สำคัญอย่างไรต่อร่างกายเรา? แมงกานีสช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน บี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีความจำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูก มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มก. มีความสำคัญต่อการสร้างไทรอกซิน ฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์ มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อย และนำอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์และระบบประสาท ไม่มีขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่สถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา แนะนำให้รับประทาน 2–5 มก. สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป http://blog.insidetracker.com/topic/calcium ข้อดีของแมงกานีส ช่วยลดอาการอ่อนล้า มีส่วนช่วยในกระบวนการตอบสนองของกล้ามเนื้อ ช่วยป้องกันโรคกระดูดพรุน ช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการหงุดหงิดง่าย...

ออร์นิทีน และอาร์จีนีน…เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “โกร๊ธฮอร์โมน”

http://nootriment.com/arginine-ornithine-lysine/ ออร์นิทีน และอาร์จีนีนเป็นกรดแอมิโนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งของโกร๊ธฮอร์โมน และจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทกรดแอมิโนที่ดังที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากคุณสมบัติในการช่วยให้คุณผอมลง และหุ่นดีขึ้นขณะนอนหลับนั้นเอง ในขณะที่ฮอร์โมนบางตัวกระตุ้นร่างกายให้กักเก็บไขมัน โกร๊ธฮอร์โมนกลับทำงานอย่างขยันขันแข็งในการกำจัดไขมัน ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้คุณดูผอมลง แต่ยังช่วยเพิ่มพลังงานให้อีกด้วย http://www.museudelrock.com/pros-and-cons-of-human-growth-hormone-treatment/ ออร์นิทีนกระตุ้นการหลั่งของอินซูลิน และช่วยอินซูลินในการทำงานในฐานะฮอร์โมนชนิดเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นักเพาะกายจึงนิยมรับประทานเสริมอาหาร การรับประทานออร์นิทีนเพิ่มจะช่วยเพิ่มระดับของอาร์จินีนในร่างกาย ที่จริงแล้วอาร์จีนีนถูกสร้างขึ้นมาจากออร์นิทีนและ ออร์นิทีนเองก็เปลี่ยนมาจากอาร์จีนีน เป็นวัฏจักรต่อเนื่องกัน http://www.athletespower.com/supplements/arginine-supplements-cause-gradual-decrease-in-igf-1/ เนื่องจากอาร์จีนีน และออร์นิทีนมีความใกล้เคียงกันมาก คุณสมบัติ และข้อควรระวังทั้ง 2 ตัวนี้จึงใช้ร่วมกันได้ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น ออร์นิทีนจะทำงานได้ดีที่สุดหากรับประทานในเวลาเดียวกัน และรูปแบบเดียวกันกับอาร์จีนีน...

เลซิติน (Lecithin) ช่วยจับไขมัน และคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้นะ �

http://ozenherb.weebly.com/3648362135953636360536363609.html เลซิตินคืออะไร? เป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสกับไขมันบางชนิด และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี ไม่สำคัญว่าเลซิตินประกอบด้วยสารใดบ้างแต่สิ่งสำคัญ คือ เลซิตินเป็นหน่วยพื้น ฐานในทุกๆ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือเลซิตินนั้นช่วยจับไขมัน และคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ด้วยคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเลซิติน คือ การที่เลซิตินสามารถละลายในได้ทั้งน้ำและไขมัน เลซิตินจึงละลายอยู่ในกระแสเลือดแล้วคอยจับเอาไขมัน หรือคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอิสระในกระแสเลือด และไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดไว้ ด้วยวิธีนี้ของเลซิตินจึงทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิติน คือ สารฟอสฟาติดิลโคลี (phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยสารโคลีน โคลีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มของวิตามินบี ที่มีความสำคัญ คือ เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสื่อประสาทในสมองของเราสารดัง กล่าวคือ อะเซทิลโคลีน ประโยชน์ของ เลซิติน...

ธาตุเหล็ก (Iron) บริโภคอย่างไรให้พอดี????

http://www.medicinenet.com/hemoglobin/article.htm “เหล็ก” เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง มีความสำคัญต่อการผลิตเฮโมโกลบินส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง, ไมโอโกลบินที่เป็นเม็ดสีแดงในกล้ามเนื้อ และเอนไซม์บางชนิด เฮโมโกลบินซึ่งเป็นที่สะสมของธาตุเหล็กส่วนใหญ่ในร่างกาย ถูกย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่ ตามวงจรชีวิตของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีระยะเวลา 120 วัน ส่วนธาตุเหล็กที่เกาะกับโปรตีน (เฟอร์ริติน) และธาตุเหล็กในเนื้อเยื่อ (ในไมโอโกลบิน) ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเพียงปริมาณเล็กน้อย มีเพียงแค่ร้อยละ 8 ของธาตุเหล็กที่รับประทานเข้าไปเท่านั้นที่ร่างกายดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กก. จะมีธาตุเหล็กประมาณ 4 กรัมในร่างกาย แร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายอย่างไร ช่วยการเจริญเติบโต ส่งเสริมความต้านทานการเจ็บป่วย ป้องการการอ่อนเพลีย รักษาและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก...

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 1 ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร

https://mirandaswellness.com/2014/04/22/going-with-your-gut-part-1-the-mouth/ ปาก เริ่มต้นด้วยการเคี้ยวบดอาหาร และการผสมรวมกับน้ำลาย เอนไซม์ที่มีชื่อว่า “ไทยาลิน” ในน้ำลายเริ่มกระบวนการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/yoiarhan.htm http://www.bbc.co.uk/education/guides/zwqycdm/revision/3 หลอดอาหาร จากนั้นอาหารจึงถูกส่งผ่านไปยังส่วนของช่องปาก และต่อลงไปยังหลอดอาหาร เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการบีบรูด Peristalsis ซึ่งเป็นกระบวนการคล้าย ๆ กับรีดนมวัว สลับกับการคลายเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนอาหารไปตลอดทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับและเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยเอนไซม์แต่ละตัว เนื่องเอนไซม์แต่ละตัวไม่สามารถทำงานข้ามหน้าที่กันได้ http://www.pw.ac.th/main/website/sci/3_data.htm ทางเดินอาหารเรามีลิ้นเปิด-ปิดตามบริเวณลอยต่อที่สำคัญ ลิ้นเล็ก ๆ ที่ส่วนปลายของหลอดอาหารจะเปิดนานพอที่จะให้ชิ้นส่วนอาหารที่ผ่านการเคี้ยวมาแล้วเข้าสู่กระเพาะ ในบางครั้งโดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร ลิ้นนี้จะคลายตัว ส่งผลให้คุณเรอออกมา...

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 2 ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

http://www.healthcareglobal.com/finance/2077/The-six-most-expensive-medical-procedures-as-of-2015 ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ลำไส้เล็กมีความยาว 22 ฟุต เป็นส่วนที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเกิดการดูดซึมสารอาหารทุกชนิด ลำไส้เล็กมีภาวะเป็นด่างซึ่งเกิดจากความเป็นด่างสูง น้ำย่อยจากตับอ่อน และของเหลวที่ผนังลำไส้เล็กหลั่งออกมา สภาวะแวดล้อมที่เป็นด่างนี้จึงจำเป็นต่อขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการย่อยอาหาร และการดูดซึม http://www.organsofthebody.com/small-intestine/ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) ซึ่งเป็นส่วนทีต่อจากกระเพาะอาหารจัดเป็นส่วนแรกของลำไส้เล็ก ต่อเข้าสู่ ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) ยาวประมาณ 10 ฟุต ซึ่งต่อเข้ากลับ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ยาวประมาณ 10–12 ฟุต เมื่ออาหารกึ่งเหลวในลำไส้เล็กถูกบีบให้เคลื่อนตัวด้วยกระบวนการบีบรูด เรามักจะพูดว่าได้ยินเสียง ”ท้องร้อง” จริง ๆ แล้วท้อง...

มารู้จักกับระบบย่อยอาหารของเรากันเถอะ…ตอนที่ 3 ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน

http://drinkingalkalinewater.com/การล้างพิษตับ.html ตับ (Liver) ตับเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นชิ้นจับต้องได้ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย หนักประมาณเกือบ 2 กิโลกรัม เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเคมีที่หาที่เปรียบไม่ได้ ตับสามารถปรับโครงสร้างทางเคมีของสารเกือบทุกชนิด เป็นอวัยวะขับสารพิษที่ทรงพลังสามารถย่อยสลายโมเลกุลของสารพิษหลากหลายประเภท และเปลี่ยนให้สารเหล่านั้นไม่มีอันตราย ตับยังเป็นคลังเก็บเลือด และเป็นอวัยวะที่เก็บสะสมวิตามิน เช่น เอและดี รวมไปถึงแป้งที่ย่อยสลายแล้ว (ไกลโคเจน) ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ตับเป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ คอเลสเตอรอล โปรตีน วิตามินเอจากแคโรทีน และสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว หน้าที่หลักอีกอย่างคือการสร้างน้ำดี น้ำดีประกอบด้วยเกลือที่ช่วยในการย่อยไขมัน โดยผ่านกระบวนการอีมัลซิฟิเคชัน (การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน) http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/02/X10220544/X10220544.html...