HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ หรือสารอื่น ๆ ในวิตามินเสริมอาหารที่คุณควรรู้!!!

August 17, 2016

สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ หรือสารอื่น ๆ ในวิตามินเสริมอาหารที่คุณควรรู้!!!

http://nbestourous.blogspot.com/2014/05/chemical-receptor-in-brain.html

 

มีอะไรในวิตามินเสริมอาหารมากกว่าที่เราเห็น และบางครั้งก็มากกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ สารหล่อลื่น และสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีกฎให้ต้องระบุไว้บนฉลาก จึงพบบ่อยครั้งที่ไม่มีการระบุใด ๆ แต่หากคุณยังสงสัยว่าคุณกลืนอะไรลงไปบ้าง รายชื่อสารต่อไปนี้น่าจะช่วยบอกคุณได้

  • สารเจือจาง (Diluent) หรือสารเพิ่มเนื้อ (Filler) เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่น แต่ถูกเติมลงไปในเม็ดยาเพื่อเพิ่มขนาดของเม็ดให้สามารถผ่านกระบวนการอัดเม็ดได้ อย่างเช่น ไดแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ดี มักใช้ในยี่ห้อที่มีคุณภาพ เป็นสารที่สกัดจากหินแร่บริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว แต่บางครั้งก็อาจนำเอาซอร์บิทอลและเซลลูโลส (เส้นใยจากพืช) มาใช้แทน
  • สารยึดเกาะ (Binder) สารในกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มการเกาะตัวของวัตถุดิบที่เป็นผง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สารยึดเกาะเป็นสารที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ ซึ่งเป็นผงรวมกันเป็นเม็ดได้ สารที่มีการใช้บ่อยที่สุดคือ เซลลูโลส และเอทิลเซลลูโลส เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบหลักของเส้นใยในพืช บางครั้งอาจมีการใช้เลซิทิน หรือซอร์บิทอลแทน สารยึดเกาะอีกตัวที่อาจมีการนำมาใช้ แต่คุณควรดูให้ดีแหละหลีกเลี่ยงคือ อะเคเซีย (Acacia และ Gum arabic) ซึ่งเป็นยางจากพืชที่ผ่านมาตรฐานว่าปลอดภัยระดับหนึ่ง หรือจีอาร์เอเอส (GRAS: Generally Recognized As Safe) จากองค์การอาหารและยาของอเมริกา แต่อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบ และผื่นแพ้ในผู้ที่เป็นหืด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีแนวโน้มจะแพ้ได้ง่าย

http://www.prevention.com/health/brain-health/too-much-copper-in-your-multivitamin

  • สารหล่อลื่น (Lubricant) สารมีความมันที่ถูกเติมเข้าไปในเม็ดยาเพื่อไม่ให้ติดกับเครื่องจักรที่ผลิต แคลเซียมสเตียเรต และซิลิกาเป็นสารที่ใช้กันบ่อยที่สุด แคลเซียมสเตียเรตดัดแปลงมาจากน้ำมันพืชธรรมชาติ ส่วนซิลิกามีลักษณะเป็นผงสีขาวอยู่ตามธรรมชาติ บางครั้งอาจใช้เป็นแมกนีเซียมสเตียเรตได้เช่นกัน
  • สารช่วยการแตกตัว (Disintegrator) อย่างเช่น สารอราบิก อัลจิน และอัลจิเนต ซึ่งเติมลงไปในเม็ดยาเพื่อให้เกิดการแตกตัวหลังจากรับประทานเข้าไป
  • สี (Color) ช่วยให้เม็ดยาดูสวยงามน่ารับประทานขึ้น สีจากแหล่งธรรมชาติ เช่น คลอโรฟิลล์
http://www.sheknows.com/health-and-wellness/articles/808160/vitamin-e-benefits-sources-and-more
  • สารแต่งรส และสารให้ความหวาน (Flavor และ Sweetener ) ใช้เฉพาะในเม็ดแบบเคี้ยว สารให้ความหวานที่ใช้มักเป็นฟรักโทส (น้ำตาลจากผลไม้) มอลต์เดกซ์ทริน ซอร์บิทอล หรือมอลโทส ส่วนซูโครส (น้ำตาลทราย) ไม่ค่อยมีการนำมาใช้ โดยเฉพาะในยี่ห้อที่มีคุณภาพ
  • สารเคลือบผิว (Coating material) เป็นสารที่ใช้เพื่อป้องกันเม็ดยาจากความชื้น ช่วยกลบรสชาติหรือกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และยังทำให้เม็ดยากลืนง่ายขึ้นด้วย ซีน (Zein) เป็นสารตัวหนึ่งที่มีการนำมาใช้ เป็นสารธรรมชาติสกัดจากโปรตีนข้าวโพด มีลักษณะเป็นฟิล์มใสเคลือบภายนอก สารอีกตัวที่มีการนำมาใช้บ่อยคือ บราซิลแว็กซ์ ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดจากต้นปาล์ม
  • สารทำให้แห้ง (Drying agent) เป็นสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้วัตถุดิบในวิตามินที่ดูดซึมน้ำได้ดูดซึมความชื้นในขณะผลิต ซิลิกาเจลเป็นสารที่มีการนำมาใช้กันบ่อยที่สุด