HEALTHCARE ยาและสุขภาพ

ปวดท้องประจำเดือน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิง

January 25, 2021

ปวดท้องประจำเดือน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิง

ปวดท้องประจำเดือน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิง

ปวดท้องประจำเดือน เป็นอาการที่ผู้หญิงแทบทุกคนคุ้นเคยกันดี บางรายปวดเพียงเล็กน้อย ก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบเดือน หรือในช่วงวันแรกๆ มีอาการปวดเกร็งเล็กน้อย รับประทานยาแก้ปวดก็หาย ในบางรายอาจมีอาการปวดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ท้องผูก ท้องอืดหรือท้องเสีย เป็นต้น

แต่ในบางรายปวดมากจนถึงขั้นไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ซึ่งระดับอาการปวดแบบรุนแรงเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะมดลูกผิดปกติ

สาเหตุของการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน หรือปวดท้องเมนส์มีสาเหตุมาจากการบีบตัวของมดลูก ในช่วงที่มีประจำเดือนเยื่อบุมดลูกจะผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม อาการปวดประจำเดือนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. ปวดแบบปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) คืออาการปวดแบบทั่วไป โดยอาการปวดประเภทนี้พบได้บ่อยที่สุด มักมีสาเหตุมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดิน มากจนเกินไป
  2. ปวดแบบทุติยะภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) อาการปวดประเภทนี้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ ภาวะผิดปกติของมดลูก หรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ ดังนี้
    • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจะติดเชื้อที่มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาเหตุเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก แม้จะเจริญผิดที่แต่ก็ยังทำหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ประจำเดือนมีสีแดงคล้ำ ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง และมีบุตรยาก
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้มีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก เนื่องมาจากมดลูกอักเสบและถูกกด ในบางรายอาจมีเลือดประจำเดือนออกมามากและมีรอบเดือนยาวนานกว่าปกติ
    • ปากมดลูกตีบ เกิดการที่ปากมดลูกตีบแคบเกินไป ส่งผลให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้า ก่อให้เกิดแรงกดภายในมดลูกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดท้องรุนแรงและเรื้อรัง
    • เนื้องอกนอกมดลูก ส่งผลให้มีประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ หรือมีประจำเดือนกระปริบกระปรอยนานเป็นสัปดาห์ และมีอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรังร่วมด้วย

 

ปวดท้องแบบไหน  ควรไปพบแพทย์?

  • ทานยาแล้วไม่หาย
  • ปวดบีบ และปวดนานกว่า 2-3 วัน มีอาการท้องร่วงและคลื่นไส้ร่วมด้วย
  • ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดท้องน้อยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มีไข้พร้อมกับปวดท้องประจำเดือน
  • มีเลือดไหลออกมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแทบทุกชั่วโมง
  • มีเนื้อเยื่อปนออกมากับเลือด เนื้อเยื่อมีสีเทา
  • มีอาการปวดท้องน้อยแม้ไม่มีประจำเดือน
  • ติดเชื้อ เช่น คันบริเวณปากช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่น
  • อายุมากกว่า 25 ปี แต่มีอาการปวดประจำเดือนแบบรุนแรงเป็นครั้งแรก

อาการปวดท้องประจำเดือน อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดแผลที่เนื้อเยื่อ ซึ่งอาจลุกลามไปทำลายอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้ ดังนั้น หาก มีอาการปวดท้องอย่างกระทันหันหรือรู้สึกปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที


รู้สึกไม่สบาย? เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องการยา? Medcare พร้อมให้บริการช่วยให้คุณได้ปรึกษากับเภสัชกรมืออาชีพ เเละจัดหาตัวแทนไปรับยาร้านขายยยามาตรฐานเพื่อนำไปส่งให้ที่บ้านของคุณได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล

เริ่มการปรึกษาได้ที่ >> https://bit.ly/medcareapp