บทความและสาระน่ารู้ดีๆ จากทีมงาน Arincare

มะเร็งตับน่ารู้ ตอน2 ชนิด สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ

พบหลายสาเหตุมากมายที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดที่ตับ ทั้งจากไวรัสตับเสบชนิดบี และซี, สารพิษอัลฟ่าท๊อกซินที่ทำให้ตับอักเสบ, พยาธิใบไม้ในตับจากการทานอาหารสุกๆ ดิบๆ, สัมผัสสารเคมีไวนิลคลอไรด์ และเธเรี่ยมไดออกไซด์บ่อย หรือแม้กระทั่งเกิดจากการถูกทำลายเซลล์ตับตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา เป็นต้น แล้วแต่ละชนิดมีรายละเอียดอย่างไรนั้นตามไปอ่านกันดีกว่าค่ะ… ชนิด และสาเหตุของมะเร็งตับ มะเร็งตับแบ่งได้ 4 ชนิด ตามต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง 1. มะเร็งเซลล์ตับ เกิดขึ้นจากเซลล์ของตัวตับเอง มีต้นเหตุส่วนใหญ่มาจากไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี เข้าไปทำลายเซลล์ตับโดยตรง เมื่อเซลล์ตับติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ เกิดเป็นแผลเป็นบนตับ จึงไปกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น และเช่นเดียวกันกับสารพิษอัลฟ่าท๊อกซิน ที่เกิดจากเชื้อราที่พบมากในถั่วอบแห้งและพริกแห้ง หากได้รับมาก ๆ จะทำให้ตับอักเสบ เซลล์ตับถูกทำลาย กลายเป็นตับแข็ง...

รู้ใจตัวเองรึยัง ???????

http://haamor.com/th โรคหัวใจ คืออะไรกัน…และหน้าที่ของหัวใจ? หนี่งในสามโรคประจำวัยในผู้สูงอายุ ที่เรียงตามกันมาหาผู้ป่วย เบาหวาน — ความดันโลหิตสูง — หัวใจ โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด Top 3 ของทุกปีเสมอ ๆ โรคหัวใจ เป็นชื่อเรียกรวมของกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจอย่างกว้าง ๆ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจนั้นมีหลายโรค ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด, โรคหัวใจในเด็กหลังคลอด, โรคลิ้นหัวใจรั่ว, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหลอดเลือด, โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง, ภาวะหัวใจโต, และยังมีโรคหัวใจอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ http://www.bknowledge.org/home/blog/bshow/srch/1/blid/4...

สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจ” !!!!

http://www.thefitindian.com/8-simple-home-remedies-to-prevent-heart-diseases/ รู้ไหมว่า…จากข้อมูลกรมควบคุมโรค ในปี 2557 สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดทั้งหมด 54,681 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คนคิดเป็นอัตราตายของโรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร ซึ่งโรคหัวใจเหล่านี้ เราไม่สามารถชะล่าใจได้เลย ควรไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่าเรามีสัญญาณของโรคนี้หรือไม่ และสาเหตุเกิดจากอะไร จะได้ตรวจสอบตนเอง และหาทางรักษาที่ถูกต้องกันต่อไปค่ะ สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary artery disease (CAD) http://washington.providence.org/~/media/images/providence/hospitals/wa/sacred%20heart/coronary_artery_disease_high_resolution.jpg/ อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไปโดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว ความรุนแรงจะยกระดับไปตามความหนาของไขมันที่เกาะบนผนังหลอดเลือดหัวใจ...

แนวทางการรักษา และการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ !!!!

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/723/34723/blog_entry1/blog/2009-06-01/comment/447575_images/10_1243814219.jpg จากบทความที่แล้ว เราได้กล่าวถึง อาการ และสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจกันไปแล้ว ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออก สมรรถภาพลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่แข็งแรงเหมือนก่อน และเหนื่อยง่าย หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้หัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุโรคนี้เกิดจากความเสื่อมตามอายุ และไขมันในเลือดสูง ทั้งจากการบริโภคอาการที่มีไขมันสูงก็ดี หรือไม่ออกกำลังกายก็ดี ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมจนอุดตัน ขีดขวางการไหลเวียนของเลือด เลือดจึงไหลผ่านได้ไม่สะดวก ส่วนวิธีการรักษา และการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น ตามไปอ่านกันเลยค่ะ…. การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ 1....

ทำความรู้จัก สาเหตุ และสัญญาณเตือน “มะเร็งเต้านม”

http://nanocomputer.com/?p=12816 โครงสร้างเต้านม ประกอบขึ้นจาก ต่อมน้ำนมประมาณ 15–20 ต่อม รูปร่างคล้ายติ่งหูรวมตัวเป็นกระจุกอยู่ที่กลางเต้านมแต่ละข้าง โดยมีไขมันล้อมรอบกลายเป็นเต้านมแต่ละข้าง ในต่อมน้ำนมแต่ละต่อม มีถุงน้ำนมเรียงตัวกันเป็นพูอยู่ภายในเพื่อสะสมน้ำนมที่ผลิตได้ ซึ่งต่อมน้ำนมทุกต่อมมีท่อน้ำนมต่อเชื่อมไปออกที่ปลายหัวนม เป็นทางระบายออกนอกร่างกายให้ทารกดื่มกิน ทั้งหมดถูกหล่อเลี้ยงด้วยเลือดแดงจากผนังอก และท่อน้ำเหลืองที่เชื่อมไปถึงต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ http://nomnanom.blogspot.com/2010/05/blog-post_03.html เซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ซึ่งจะลุกลามต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้เป็นตำแหน่งแรก แล้วมะเร็งจึงแพร่ไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็วตามระบบท่อน้ำเหลือง แล้วถัดไปที่ปอด ตับ กระดูก โดยแพร่ตามหลอดเลือดแดง ซึ่งยากแก่การควบคุมและรักษาได้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ประวัติทางพันธุกรรมที่มีบุคคลสายเลือดเดียวกับเพศหญิง เคยเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก...

ทำอย่างไรหากเจอก้อนเนื้อในเต้านม????

http://cbsnews1.cbsistatic.com/hub/i/r/2015/07/14/c9e965fb-0157-47ef-9e00-16b9f638f165/thumbnail/620x350/d4ebbfb1898048962cae6d1025395b29/woman-breast-exam.jpg หากคลำพบก้อนเนื้อด้วยตนเองแล้ว สิ่งต่อไปคือการรีบไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งทรวงอก ให้แพทย์ได้ตรวจอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยก้อนเนื้อดู แพทย์ต้องสอบถามประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว สุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยอาจให้ผู้ป่วยถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม อัลตราซาวด์ ตรวจเลือด และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม http://www.nationalbreastcancer.org/breast-cancer-facts http://www.heart.org ตรวจร่างกาย ซักประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัว http://www.bbc.com/news/magazine-31552562 2. แพทย์คลำก้อนเนื้อในเต้านม เพื่อสัมผัสลักษณะของก้อนเนื้อว่ามีลักษณะอย่างไร http://www.healthcare.siemens.com/clinical-specialities/oncology/cancer-types/breast-cancer/patient-information/diagnostics/mammography 3. ถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม Mamography ให้เห็นภาพตัดขวางก้อนเนื้ออย่างชัดเจน http://www.newhealthadvisor.com/Breast-Cancer-Ultrasound-Images.html 4. ถ่ายภาพด้วยคลื่นเสียงสะท้อน...

แนวทางรักษา และวิธีป้องกัน มะเร็งเต้านม

http://www.rsna.org/newsdetail.aspx?id=12533 การรักษามะเร็งเต้านม ปัจจุบันแพทย์ได้พัฒนาวิธีการรักษามะเร็งเต้านมอย่างก้าวหน้าไปอย่างมาก เช่น การให้เคมีบำบัดปริมาณสูงควบคู่กับการให้เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) เพื่อให้ Stem cell เข้าไปทดแทนเซลล์ที่ตายที่ตายลงจากเคมีบำบัด, การให้ Antibodies ชนิดที่ต่อต้านเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ, การยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยเจาะจง (Target Therapy) ร่วมกับการให้ยายับยั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นการยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้แบ่งตัวเจริญเติบโตเพิ่ม http://www.soc.ucsb.edu/sexinfo/article/breast-cancer ส่วนการรักษามะเร็งเต้านมที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน ยังเป็นเช่นเดียวกับการรักษามะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่แพทย์ต้องอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก เพื่อนำก้อนเนื้อร้ายออกจากเต้านม ซึ่งก็แล้วแต่ขนาดและการพัฒนาของก้อนเนื้อร้ายว่าลุกลามไปถึงระยะไหน การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม หากตรวจพบมะเร็งในระยะแรก...

ตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกันเถอะ

http://www.alltohealth.com/11143-2/ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถทำได้บ่อย ๆ เพื่อคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมตนเองอยู่เสมอ ๆ หากตรวจพบก้อนเนื้อหรือสิ่งปกติใด จะได้นำไปสู่การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เนื้อร้ายเติบโตลุกลามจนยากแก่การรักษา ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ต้องรู้จักการตรวจเต้านมของตนเองเป็นประจำทุกเดือน โดยทำหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 3–7 วัน ไม่แนะนำให้คลำตรวจในช่วงเวลามีประจำเดือน เพราะเต้านมมีอาการคัดตึงอยู่แล้วอาจทำให้เข้าใจผิดผลาดกันได้ ส่วนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ควรกำหนดวันให้แน่นอนในทุก ๆ เดือน เพื่อง่ายต่อการจดจำและบันทึกความเปลี่ยนแปลงหากพบก้อนเนื้อ ว่ามีรูปร่าง ลักษณะและขนาดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละเดือน http://www.natureshop.in.th/รอบรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ให้ยืดนิ้วชี้...

“เรื่องสิวๆ” ที่ไม่สิว ๆ !!!

http://www.mathcadworld.com/acne-no-more-when-to-see-a-dermatologist/ รู้หรือไม่?…สิวเกิดจากอะไร? สิว (Acne) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง พบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น เกิดจากเซลล์ผิวหนังบริเวณรูขุมขนมีการแบ่งตัว และหลุดลอกผิดปกติ หรือต่อมไขมันมีการหลั่งไขมันมาก ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน จนเกิดเป็นสิวอุดตัน (Comedone) ซึ่งถ้าหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้สิวอักเสบ หรือเป็นหนองขึ้นได้ http://women.mthai.com/beauty/health/19735.html ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวขึ้นมา 1. กรรมพันธุ์ 2. การสร้าง และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Androgen ในร่างกาย ทำให้ต่อมไขมันมีการผลิตไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนวัย 11–14 ปี จะพบสิวมาก เพราะฮอร์โมนเริ่มสร้างในช่วงนี้ 3. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน 4. การใช้เครื่องสำอางบางอย่างที่มีไขมันสูง เช่น ครีมบำรุงผิว...

(6) ข้อแนะนำการใช้ยาทารักษาสิว & (7) วิธีป้องกันการเกิดสิว!!!

http://dodeden.com/147363.html จากบทความในตอนที่แล้วได้เขียนไว้เกี่ยวกับ “เรื่องสิวๆ” ที่ไม่สิว ๆ !!! กันไปแล้ว ตอนนี้มาทราบข้อแนะนำในการใข้ยารักษาสิว และการป้องกันสิวกันดีกว่าค่ะ เพราะถ้าหากเรายังปฏิบัติตัว ใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงกระตุ้นให้สิวเกิด รักษาอย่างไรสิวก็ยากที่จะหายไปจากบนใบหน้าเรานะคะ http://www.physiogel.com/th/our-products/face.html ข้อแนะนำการใช้ยาทารักษาสิว 1.หลีกเลี่ยงการทาบริเวณที่ผิวอ่อน เข่น ขอบตา ข้างจมูก หรือมุมปาก 2. เมื่อล้างหน้าเสร็จอย่าพึ่งทายาทันที ควรรอ 20–30 นาที ให้ผิวแห้งก่อน จะช่วยลดการระคายเคืองจากยาได้ 3. ใช้ยาปริมาณเล็กน้อยทาทั่วบริเวณที่เป็นสิว 4. อาจทายาเพียง 30 นาที — 1 ชั่วโมง...