HEALTHCARE

กินยาอย่างไร ไม่ให้ตับพัง!

ตับมีหน้าที่ในการขับยาที่หลงเหลือในร่างกายออก ผู้ที่ทานยาและอาหารเสริมเป็นจำนวนมากเป็นเวลานานๆ จึงมักกังวลว่า หากในระยะยาว ตับจะมีปัญหาหรือไม่ จะเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับหรือไม่ วันนี้เราจะมาดูกันนะคะว่าถ้าต้องทานยาบ่อยๆ เราจะดูแลร่างกายอย่างไรไม่ให้ตับพัง :) มียากว่า 900 ชนิดที่มีข้อมูลว่า มีผลต่อการทำงานของตับได้ แม้ว่าจะเป็นยาสมุนไพรก็ตาม แต่ยาและอาหารเสริมเหล่านี้จะมีผลต่อตับของคุณมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ อายุ เพศ การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคประจำตัวอื่นๆ เราสามารถช่วยตับเราได้ค่ะ หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่รับประทานยาและอาหารเสริมเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน หรือกังวลเรื่องสุขภาพตับ ลองทำตาม 3 ข้อง่ายๆ...

สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ หรือสารอื่น ๆ ในวิตามินเสริมอาหารที่คุณควรรู้!!!

http://nbestourous.blogspot.com/2014/05/chemical-receptor-in-brain.html   มีอะไรในวิตามินเสริมอาหารมากกว่าที่เราเห็น และบางครั้งก็มากกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ สารหล่อลื่น และสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีกฎให้ต้องระบุไว้บนฉลาก จึงพบบ่อยครั้งที่ไม่มีการระบุใด ๆ แต่หากคุณยังสงสัยว่าคุณกลืนอะไรลงไปบ้าง รายชื่อสารต่อไปนี้น่าจะช่วยบอกคุณได้ สารเจือจาง (Diluent) หรือสารเพิ่มเนื้อ (Filler) เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่น แต่ถูกเติมลงไปในเม็ดยาเพื่อเพิ่มขนาดของเม็ดให้สามารถผ่านกระบวนการอัดเม็ดได้ อย่างเช่น ไดแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ดี มักใช้ในยี่ห้อที่มีคุณภาพ เป็นสารที่สกัดจากหินแร่บริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว แต่บางครั้งก็อาจนำเอาซอร์บิทอลและเซลลูโลส (เส้นใยจากพืช) มาใช้แทน สารยึดเกาะ...

วิตามินA D E K ในรูปแบบแห้ง หรือแบบละลายน้ำ คืออะไร?

http://www.berkeleywellness.com/supplements/vitamins/article/should-anyone-still-take-vitamin-e สำหรับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น A D E และK จะมีในรูปแบบ “แห้ง” หรือแบบละลายน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบที่แนะนำสำหรับคนที่มักมีอาการเสียดท้องเมื่อต้องรับประทานน้ำมัน รวมทั้งผู้ที่เป็นสิวง่าย หรือเป็นโรคผิวหนังที่ไม่แนะนำให้รับประทานน้ำมัน และสำหรับผู้ที่พยายามลดน้ำหนักโดยรับประทานอาหารในกลุ่มไขมันให้น้อยที่สุด (วิตามินที่ละลายในไขมันต้องใช้ไขมันในการนำสารอาหารไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ หากเราต้องการอาหารไขมันต่ำ และต้องการรับประทานวิตามินที่ละลายในไขมัน แนะนำให้ใช้เป็นแบบแห้ง)

วิตามินเสริม แบบไหนที่ถูกขับออกไป หรือสะสมในร่างกาย?

http://www.popsugar.com/fitness/Vitamin-D-Calcium-Omega-3-Supplement-Benefits-23544715 ร่างกายของเรามีแนวโน้มที่จะขับสารต่าง ๆ ที่เรารับประทานออกมาทางปัสสาวะในเวลาประมาณสี่ชั่วโมง โดยเฉพาะบรรดาวิตามินที่ละลายน้ำมักเป็นไปตามกฎนี้เป็นส่วนมาก เช่น วิตามินบีและซี โดยเฉพาะหากรับประทานตอนท้องว่าง วิตามินบีและซีอาจจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงหลังรับประทาน วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค จะอยู่ในร่างกายเราประมาณ 24 ชั่วโมง ปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ตับได้นานขึ้น แต่วิตามินเอ และอีแบบแห้งจะไม่สามารถอยู่ในร่างกายได้นานเท่า

การเก็บรักษายา วิตามินและอาหารเสริม

http://vitaminsandhealthsupplements.com/2439/many-vitamin-c-supplements-high-quality-but-wide-price-differences/ ผลิตภัณฑ์วิตามิน และแร่ธาตุเสริมอาหาร ควรเก็บรักษาในที่แห้ง และมืดห่างไกลจากแสงแดด บรรจุในภาชนะที่ทึบและปิดมิดชิด ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น นอกเสียจากว่าคุณอยู่ในสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทราย เพื่อป้องกันความชื้น ให้ใส่ข้าว 5–10 เมล็ดลงไปในก้นกระปุกวิตามิน ข้าวจะดูดซับความชื้นตามธรรมชาติได้ วิตามินที่เก็บในที่เย็น พ้นจากแสง และปิดไว้อย่างดี จะมีประสิทธิภาพคงอยู่ได้ 2–3 ปี แต่เพื่อรับประกันความสดใหม่คุณควรเลือกซื้อยี่ห้อที่ระบุวันหมดอายุไว้ในฉลาก และเมื่อคุณเปิดกระปุกแล้วจะมีประสิทธิภาพคงอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “น้ำ” (Water) ต่อร่างกายมนุษย์

http://www.mtlblog.com/2015/09/8-unexpected-reasons-to-drink-more-water/ ข้อเท็จจริง ของน้ำ ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ น้ำเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดของเรา 1 ใน 2 ถึง 4 ใน 5 ส่วนของน้ำหนักตัวของเราคือน้ำ มนุษย์สามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์หากปราศจากอาหาร แต่อยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากปราศจากน้ำ น้ำเป็นตัวละลายหลักอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อย น้ำช่วยความคุมอุณหภูมิในร่างกาย มีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย ไม่มีปริมาณที่เฉพาะเจาะจงให้ดื่มในแต่ละวัน เนื่องจากการสูญเสียน้ำของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามภูมิอากาศ สถานการณ์ และสภาพร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้ว การดื่มน้ำ 6–8 แก้วถือว่าดีต่อสุขภาพ แนะนำน้ำที่ผ่านการกรองแล้ววันละ 8–10...

คำแนะนำ และข้อควรระวัง เกี่ยวกับ “น้ำ” (Water)

http://www.nutritionsecrets.com/health-benefits-of-water/ คำแนะนำ แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 8–10 แก้ว พยายามดื่มในช่วงครึ่งชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร โดยเฉพาะผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก หากคุณมีไข้พยายามดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และเพื่อช่วยในการขับของเสียออกจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายคุณ ดื่มน้ำตามมาก ๆ เมื่อกินยาที่ระคายเคืองกระเพาะอย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยาปฏิชีวนะ จะลดอาการระคายเคืองกระเพาะได้ กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักทำให้ร่างกายขาดน้ำ และไม่ควรนับรวมเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นปริมาณน้ำที่คุณดื่มในแต่ละวัน นมเป็นอาหาร และไม่ควรดื่มนมทดแทนการดื่มน้ำเปล่าได้ http://www.gea.com/global/en/applications/utilities/environment/water_treatment_potable-water-treatment.jsp อย่าดื่มน้ำจากก๊อกน้ำร้อน เพราะน้ำร้อนละลายสารตะกั่วจากท่อออกมาได้มากกว่าน้ำเย็น และในยามเช้า ควรปล่อยให้น้ำไหลทิ้งสักสองสามนาทีก่อนที่จะใช้...

“คีเลชัน” (Chelation) คืออะไร

http://www.consented.co.uk/read/are-vitamin-supplements-making-us-healthier-or-are-we-pissing-our-money-away/ คีเลชัน (Chelation) เป็นกระบวนการที่แร่ธาตุถูกเปลี่ยนให้เป็นรูปที่ย่อย และดูดซึมได้ อาหารเสริมแร่ธาตุมักไม่ได้ผ่านกระบวนการคีเลชัน จึงต้องถูกกระบวนการย่อยเปลี่ยนให้เป็นรูปที่ย่อยและดูดซึมได้เสียก่อน ร่างกายจึงนำไปใช้งานได้ แต่สำหรับหลายคน กระบวนการคีเลชันตามธรรมชาติเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้แร่ธาตุจำนวนมากที่รับประทานเข้าไปถูกใช้ได้จริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อเราได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงว่าร่างกายไม่สามารถใช้งานสารอาหารได้ทุกชนิดที่รับประทานเข้าไป คนส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธาตุเหล็กที่เรารับประทานเข้าไปได้ถูกดูดซึมไปใช้จริง ๆ เพียงร้อยละ 2–10 เท่านั้น และจากส่วนน้อยที่ถูกดูดซึมเข้าไปนั้น ครึ่งหนึ่งจะถูกขับออกจากร่างกาย คงเข้าใจกันมากขึ้นว่า การรับประทานแร่ธาตุที่ผ่านกระบวนการคีเลชันแล้วนั้นสำคัญเพียงใด แร่ธาตุที่ผ่านกระบวนการคีเลชันโดยการจับเข้ากับกรดแอมิโน จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าแบบไม่ผ่านการคีเลชัน 3–10 เท่า

วิตามินแบบแตกตัวช้า คืออะไร และดีอย่างไร?

https://smartypantsvitamins.com/natural-vitamins-vs-synthetic-vitamins-part-1-vitamin-a/ ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของวงการวิตามิน คือ การค้นพบวิธีการผลิตวิตามินแบบแตกตัวช้า ซึ่งทำได้โดยการบรรจุวิตามินเป็นเม็ดกลมขนาดจิ๋วมากมาย จากนั้นก็นำไปรวมเข้ากับสารประกอบชนิดพิเศษที่ออกแบบมาให้ค่อย ๆ แตกตัว เพื่อให้การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายใช้เวลา 3–6 ชั่วโมง วิตามินส่วนใหญ่เป็นชนิดละลายน้ำและไม่สามารถเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้ หากไม่มีเทคโนโลยีการทำให้แตกตัวช้า มันจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว และไม่ว่าจะรับประทานปริมาณมากเพียงใด ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะในเวลา 2–3 ชั่วโมง http://www.mybeautygym.com/are-you-taking-too-many-vitamins/ วิตามินอาหารเสริมในแบบแตกตัวช้าให้ประสิทธิผลที่ดีขึ้น ลดการสูญเสียจากการถูกขับออก และช่วยรักษาระดับของวิตามินในเลือดให้คงที่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน (อ่านฉลากเพื่อให้ทราบลักษณะการแตกตัว เพราะวิตามินที่ระบุว่าแตกตัวช้าบางตัวอาจแตกตัวในเวลา 2 ชั่วโมง หรือเร็วกว่านั้น จึงไม่ได้ให้ผลที่ดีกว่าวิตามินแบบปกติซึ่งราคาต่ำกว่ามาก)

รับประทานวิตามินเสริมอาหารอย่างไร และเมื่อไหร่จึงเหมาะสม

http://www.organicauthority.com/do-vitamins-expire-the-truth-about-your-supplements/ ร่างกายมนุษย์ทำงานเป็นวัฏจักรตลอด 24 ชั่วโมง เซลล์ของคุณไม่ได้นอนหลับไปด้วยในขณะที่คุณหลับ และเซลล์ก็ไม่สามารถมีชีวิตได้หากปราศจากออกซิเจน และสารหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลดีกับร่างกายที่สุด แนะนำให้แบ่งวิตามินเสริมอาหารของคุณเป็นมื้อ ๆ รับประทานตลอดทั้งวัน http://www.sbs.com.au/food/article/2014/05/09/eat-well-four-myths-about-vitamin-supplements ช่วงเวลาหลักในการรับประทานวิตามิน คือ พร้อมมื้ออาหารหรือหลังอาหาร เนื่องจากวิตามินเป็นสารอินทรีย์ จึงควรรับประทานพร้อมอาหารและแร่ธาตุอื่นเพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด และเนื่องจากวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ โดยเฉพาะวิตามินบีรวมและซี จะถูกขับออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว หากคุณสามารถรับประทานพร้อมอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็นได้ จะช่วยให้ร่างกายของคุณมีวิตามินในระดับสูงตลอดทั้งวัน แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะรับประทานหลังอาหารทุกมื้อ อาจรับประทานครึ่งหนึ่งหลังอาหารเช้า และอีกครึ่งหนึ่งหลังอาหารเย็นแทนก็ได้...