ผู้หญิง

โฟลิกนั้น สำคัญไฉน

โฟลิกคืออะไร กรดโฟลิกเป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบี ซึ่งโฟลิก นั้นได้มากจากการที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ต่างกับ โฟเลต ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี ที่ละลายน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปสารประกอบชนิดอื่น ๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น โฟเลต หรือ โฟลาซิน เป็นต้น วิตามิน บี 9 มีหน้าที่อะไร? โฟลิค และ โฟเลต นั้นต่างก็มีบทบาทเหมือนกันคือ ช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมการทำงานของสมอง และมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์...

วันตกไข่ คืออะไร?

วันตกไข่ คืออะไร? ไข่ตก หรือ การตกไข่ เป็นกลไกธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยปกติจะใช้เวลารอบละประมาณ 28-35 วัน เริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมา ซึ่งวันที่ไข่ตกนี้เองจะเป็นวันที่ไข่ใบที่สุกที่สุดออกมาจากรังไข่และเดินทางไปยังส่วนปลายของท่อนำไข่   ทำความเข้าใจวงจรการตกไข่ โดยธรรมชาติแล้ว การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นเมื่อไข่ของเพศหญิงมีการปฏิสนธิในช่วงที่ตกไข่ ซึ่งใน 1 เดือน จะมีการตกไข่เพียง 1 ครั้ง และช่วงที่ไข่จะพร้อมรอการผสมจะมีช่วงเวลาอยู่แค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น หากไข่ได้รับการปฏิสนธิหรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้  ไข่ก็จะไปฝังตัวกับเยื่อบุผนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน เกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้น แต่ถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิหรือผสมไม่สำเร็จ...

ทำความรู้จัก ยาคุมกำเนิด

ปัจจุบัน มีวิธีคุมกำเนิดหลายวิธี ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล แต่หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมจากมากที่สุด คือ การคุมกำเนิดโดยการกินยาเม็ดคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม ยาคุมกำเนิด ก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทอีกด้วย วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจ การทำงาน และประเภทของยาคุมกำเนิดกัน การทานยาคุมกำเนิด คือการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ซึ่งโดยหลักการทำงานของยาคุมกำเนิดจะส่งผลให้ ไข่ไม่ตก ท่อนำไข่เคลื่อนไหวผิดปกติ ส่งผลให้ไข่ที่ถูกอสุจิผสมแล้วไม่สามารถเดินทางมาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้ เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน มูกที่ปากมดลูกข้น เหนียว จนทำให้อสุจิไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ ยาเม็ดคุมกำเนิด สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ...

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะในระบบทางเดินปัสสาวะ มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก ทำให้เชื้อโรคบริเวณดังกล่าวเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย สาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุหลักที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะมีอยู่มากบริเวณรอบทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือการสวนปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการอย่างไร ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง คล้ายจะไม่สุด รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดแสบขณะปัสสาวะ...

มดลูกหย่อน คืออะไร

มดลูกหย่อน หรือ มดลูกต่ำ คืออะไร มดลูกหย่อน (Pelvic Organ Prolapse) คือ อาการที่มดลูกเคยอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน โดยมีกล้ามเนื้ออยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวเหน่าที่ทำหน้าที่ยึดมดลูก มีอาการขาดความแข็งแรงหรือถูกทำลาย และส่งผลให้มดลูกหย่อนหรือหลุดต่ำลงมาที่ช่องคลอด สาเหตุของมดลูกหย่อน เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อนยานเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจจเกิดจากการคลอดบุตรบ่อยๆ มีบุตรมาก ทารกตัวใหญ่ การเข้าสู่ภาวะวัยทองที่ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ท้องผูกมากจนทำให้เกิดการเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือแม้แต่การมีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงโรคเนื้องอกในมดลูกแล้วถ่วงจนทำให้มดลูกหย่อนยาน การยกของหนัก และการผ่าตัดมดลูก ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน   ความรุนแรงของภาวะการหย่อนตัวของมดลูก หย่อนคล้อยระยะที่...

ปวดท้องประจำเดือน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิง

ปวดท้องประจำเดือน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิง ปวดท้องประจำเดือน เป็นอาการที่ผู้หญิงแทบทุกคนคุ้นเคยกันดี บางรายปวดเพียงเล็กน้อย ก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบเดือน หรือในช่วงวันแรกๆ มีอาการปวดเกร็งเล็กน้อย รับประทานยาแก้ปวดก็หาย ในบางรายอาจมีอาการปวดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา ท้องผูก ท้องอืดหรือท้องเสีย เป็นต้น แต่ในบางรายปวดมากจนถึงขั้นไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ซึ่งระดับอาการปวดแบบรุนแรงเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะมดลูกผิดปกติ สาเหตุของการปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือน หรือปวดท้องเมนส์มีสาเหตุมาจากการบีบตัวของมดลูก ในช่วงที่มีประจำเดือนเยื่อบุมดลูกจะผลิตสารโพรสตาแกลนดิน...

วิตามินเสริม สำหรับผู้หญิงในแต่ละช่วงวัย

วิตามินเสริม สำหรับผู้หญิงในแต่ละช่วงวัย ผู้หญิงเป็นเพศที่ให้ความสำคัญกับการดูแลเอาใจใส่ตนเองอยู่แล้ว แต่ความต้องการวิตามินเสริมของผู้หญิงในแต่ละช่วงวัย ไม่เหมือนกัน จึงควรรับประทานให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย หรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อเลือกรับประทานวิตามินที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงในแต่ละช่วงวัย วัยรุ่น 13-20 ปี เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความคิดที่ชัดเจน ซึ่งในความเป็นจริง การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ก็เพียงพอแล้ว แต่หากอยากเสริมเรื่องผิวพรรณให้สวยใส ลดความมันและสิว อาจจะหาวิตามินรวม เช่น วิตามิน A, C, D, E, แคลเซียม และสังกะสี (Zinc) มาทาน...