บทความและสาระน่ารู้ดีๆ จากทีมงาน Arincare

คาร์โบไฮเดรตปีศาจร้ายในความเข้าใจผิดของคนอยากผอม!!!

http://www.healthornutrition.com/fat-loss-foods-complete-guide/ คาร์โบไฮเดรต หรืออาหารประเภทแป้ง ปีศาจร้ายในความเข้าใจผิดของคนอยากผอม เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกาย แป้ง และน้ำตาลอาหารหลักในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยกลายเป็นกลูโคส หรือน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะให้พลังงานที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง http://healthy-ojas.com/diabetes/carbohydrate-metabolism.html หากคุณต้องการคาร์โบไฮเดรตในอาหารทุกวัน เพื่อไม่ให้โปรตีนที่มีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อต้องถูกนำมาใช้อย่างสูญเปล่าเพื่อสร้างพลังงาน แทนมี่จะได้ไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากคุณรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินกว่าที่จะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคล หรือ ไกลโคเจน (ซึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ) เป็นที่ทราบกันดีว่ามันจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน เมื่อร่างกายต้องการเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ไขมันก็จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นกลูโคส และคุณก็จะมีน้ำหนักตัวที่ลดลง http://www.nutritionsecrets.com/health-benefits-of-forbidden-black-rice/ อย่ารับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไปนัก มันสำคัญต่อสุขภาพที่ดีพอกับสารอาหารอื่น ๆ และหากเทียบน้ำหนักกรัมต่อกรัมแล้ว มันก็ให้พลังงาน...

ดัชนีไกลซีมิก Glycemic Index (GI) ดัชนีวัดค่าคาร์โบไฮเดรต!!

http://blog.fooducate.com/2013/07/26/four-myths-about-the-glycemic-index/ เมื่อพูดถึงการจัดอันดับโดยหน่วยวัดที่เรียกว่า “ดัชนีไกลซีมิก” ซึ่งเป็นการคำนวณว่าน้ำตาลในเลือดจะสูง และเร็วเพียงใดหลังจากที่รับประทานอาหารแต่ละชนิดเข้าไป อาหารที่มีดัชนีไกลซีมิกสูงจะมีคาร์โบไฮเดรตสูง (น้ำตาลและแป้งสูง) และส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว กลูโคสไม่ได้ผิดอะไร (มันเป็นดั่งเชื้อเพลิงที่ทุกเซลล์ในร่างกายต้องการใช้) แต่ในการจัดการกับกลูโคส ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินขึ้นมา ยิ่งคุณรับประทานอาหารที่มีไกลซีมิกสูง ตับอ่อนต้องทำงานหนักมากขึ้น และหากมันต้องทำงานหนักเกินไป บ่อยเกินไป มันก็อาจหมดแรงและส่งผลให้เกิดภาวะเบาหวานตามมาได้ http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter3/insulin_hormone.htm ยิ่งไปกว่านั้น คือ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีไกลซีมิกสูงยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และอินซูลินก็จะสูงขึ้นตาม อินซูลินที่สูงนี้จะไปเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินให้กลายเป็นไขมัน และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมอาหารไขมันต่ำ หรืออาหารไร้ไขมันยังคงทำให้คนยังมีไขมัน http://www.tuvayanon.net/I-ep6-001001A-570909-1335.html ดัชนีไกลซีมิกให้คะแนนอาหารโดยประเมินว่า...

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “คอเลสเตอรอล” (Cholesterol)

http://women.thaiza.com/กำจัดไตรกลีเซอไรด์ส่วนเกิน/265573/ ไขมันคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าไขมันทุกชนิดไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งไม่ใช่ความจริงแต่น้อย และไขมันตัวที่ถูกเข้าใจผิดมาเสมอก็ คือ คอเลสเตอรอล ทุกคนทราบกันดีว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุของโรคผนังหลอดเลือดแดง โรคหัวใจ และโรคต่าง ๆ มากมาย แต่น้อยคนที่ทราบว่าคอเลสเตอรอลจำเป็นต่อร่างกายเรา อย่างน้อยสองในสามของคอเลสเตอรอลในร่างกายถูกสร้างจากตับ หรือลำไส้ใหญ่ ทั้งยังพบในสมอง ต่อมหมวกไต และเยื่อหุ้มเส้นประสาท และเมื่อพูดถึงแง่ดีแล้วก็พบว่ามีมากเช่นกัน http://www.medical.unon.org/what-is-cholesterol แง่ดีของคอเรสเตอรอล คอเลสเตอรอลที่ผิวหนังจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินที่มีประโยชน์กับร่างกาย เมื่อได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีในแสงแดด คอเลสเตอรอลมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารในกลุ่มแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต (ยิ่งรับประทานแป้งมาก ร่างกายก็จะสร้างคอเลสเตอรอลมากขึ้น) คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์จากต่อมหมวกไต ซึ่งมีความสำคัญ...

ไขมันอิ่มตัว vs ไขมันไม่อิ่มตัว คืออะไร?

http://www.newhealthadvisor.com/Difference-Between-Saturated-and-Unsaturated-Fats.html ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) มาจากอาหารในกลุ่มเนื้อสัตว์ (มีข้อยกเว้นสำหรับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน) ไขมันจากสัตว์ทุกชนิดมีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวจะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat) (แบ่งเป็นประเภทเชิงเดี่ยว และเชิงซ้อน) มาจากอาหารที่ได้จากพืช ไม่มีผักผลไม้ชนิดใดมีคอเลสเตอรอล ไขมันไม่อิ่มตัวจะมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ****ถึงแม้ว่าอาหารบางชนิดจะไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นจะไม่มีไขมัน เช่น อะโวคาโด เป็นอาหารที่ไม่มีคอเลสเตอรอลก็จริง แต่ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่ใช้ทำกัวคาโมลี (ซอสที่ทำจากอะโวคาโด) ก็ให้ไขมันถึง 30 กรัมเลยทีเดียว http://www.everwell.com/diet_and_nutrition_claims/saturated_fat_heart_health.php

ระดับของคอเลสเตอรอล…สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย?

http://www.midwestfamilyhealth.com/#!More-Options-for-Cholesterol-Control/c22ev/55d7787b0cf22dbd375a182a เมื่อพูดถึงระดับคอเลสเตอรอล เรามักจะหมายถึงระดับของคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือด หรือ serum cholesterol ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่เหมาะสมสำหรับทุกคนคือ ไม่เกินกว่า 200 มก./ดล. อัตราส่วนของเอชดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดดี) ต่อแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) มีความสำคัญเช่นเดียวกับอัตราส่วนของเอชดีแอลต่อคอเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด ยิ่งคุณมีเอชดีแอลมาก คุณก็ยิ่งมีเกราะคุ้มกันการอุดตันของเส้นเลือดแดงมากขึ้น http://www.rosewellness.com/cholesterol-control/ การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มักรวมไปถึงการวัดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันที่ต่างจากคอเลสเตอรอล แต่มีความเชื่อมโยงกันอยู่ คือ คุณอาจจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงโดยที่ระดับคอเลสเตอรอลต่ำ (หรือในทางกลับกัน)ก้ได้...

“กรดไขมันทรานส์” ผู้บริโภคต้องรู้…!!

http://www.healthcareaboveall.com/why-you-should-never-consume-margarine-again/ กรดไขมันทรานส์ คืออะไร? กรดไขมันทรานส์ (Trans-fatty acid) คือ ไขมันอิ่มตัวที่เติมไฮโดรเจนเข้าไป ทำให้มันเหนี่ยวพอที่จะนำมาใช้ในการทำขนมปัง ขนมอบ และมาร์การีน กรดไขมันทรานส์ยังช่วยให้อาหารสำเร็จรูปมีอายุยาวนาวขึ้น และบนฉลากอาหารผู้บริโภคจะพบในรายชื่อส่วนประกอบว่า “น้ำมันไฮโดรจีนเนต (hydrogenated oil)” กรดไขมันทรานส์พบได้มากในอาหารจำพวก คุ้กกี้ แครกเกอร์ ขนมขบเคี้ยว และอาหารฟาสต์ฟู้ด http://inhabitat.com/fda-orders-food-manufacturers-to-stop-using-trans-fats-by-2018/fast-food-trans-fats/ กรดไขมันทรานส์เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อย่างไร? กรดไขมันทรานส์ในปริมาณที่น้อยนิดสามารถทำให้ระดับแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลไม่ดี) สูงขึ้น ระดับเอชดีแอล (คอเลสเตอรอลดี) ลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ...

“ตัวกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมน” สำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง?

http://genoxon.com/hgh-knowledge-base/everything-you-need-to-know-about-hgh ตัวกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมน คือ สารอาหารที่กระตุ้นการสร้างโกร๊ธฮอร์โมนในร่างกายได้ โกร๊ธฮอร์โมนจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมอง และถูกหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ ออกกำลังกาย และถูกจำกัดการรับประทานอาหาร https://mojomultiplier.com/category/fat-burning-hormones/growth-hormone-fat-burning-hormones/page/2/ ข้อดีของโกร๊ธฮอร์โมน ช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานกล้ามเนื้อ เพิ่มความต้านทานต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ส่งผลให้เส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกล้ามเนื้อ ลดปริมาณยูเรียในเลือดและปัสสาวะ ตัวกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมนมีอะไรบ้าง? http://genoxon.com/hgh-knowledge-base/everything-you-need-to-know-about-hgh ตัวกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ กรดแอมิโนออร์นิทีน อาร์จีนีน ทริปโตแฟน กลูตามีน ไกลซีน แลพไทโรซีน โดยกรดแอมิโนเหล่านี้จะทำงานเสริมกัน...

4 ข้อดี ของ “โครเมียม” และสำคัญต่อร่างกายเราอย่างไร?

https://www.healthambition.com/chromium-benefits-food-sources-best-chromium-supplement/ ทำงานร่วมกับอินซูลินในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้ ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่โดยทั่วไปในผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทาน 50–200 มคก. เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของคุณจะเก็บโครเมียมได้น้อยลง ข้อดีของโครเมียม ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและลดความดันโลหิต ทำงานเป็นเกาะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าจนหมดแรงเฉียบพลัน โรคจากการขาดโครเมียม การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และเบาหวาน http://www.myinsuranceclub.com/guides/diabetes-mellitus-diabetes แหล่งธรรมชาติของโครเมียม ตับลูกวัว จมูกข้าวสาลี บริวเวอร์ยีสต์ ไก่ น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ http://www.natmedtalk.com/wiki/File:Chromium-foods.jpg ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจพบรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทแร่ธาตุรวมคุณภาพสูง...

ประโยชน์ของ “โซเดียม” และร่างกายควรรับเท่าไหร่ดี…??

http://www.essential-vitamins-minerals.com/low-sodium-foods/ โซเดียม (sodium) และโพแทสเซียมถูกค้นพบพร้อม ๆ กัน ต่างก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน หากคุณมีความดันโลหิตที่สูง พยายามลดโซเดียมให้น้อยลง โดยการอ่านฉลากอาหารก่อนที่คุณจะซื้อ มองหาคำว่า เกลือ (Salt) หรือโซเดียม (Sodium) ตัวย่อทางเคมีคือ Na http://fca.com/too-much-sodium-master-label-lingo-to-shake-the-salt-habit-now/ ประโยชน์ของโซเดียม 1. โซเดียมช่วยให้แคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ ละลายในเลือดได้ 2. โซเดียมช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือการเป็นลมแดด 3. ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ปกติ ทานปริมาณเท่าไหร่ดี? ไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานแต่สถาบันแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า...

สาระเกี่ยวกับ “โพแทสเซียม” (Potassium)

มีความสำคัญอย่างไร? บริโภคอย่างไรจึงเหมาะสม? http://www.building-muscle101.com/benefit-of-potassium.html โพแทสเซียม สำคัญอย่างไร? โพแทสเซียมทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย และทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โพแทสเซียมทำงานในเซลล์ โซเดียมทำงานนอกเซลล์ การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะเสียไป หากระดับโซเดียม และโพแทสเซียมในร่างกายเสียสมดุล ช่วยให้สติปัญญาแจ่มใส่ โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาภูมิแพ้ บริโภคเท่าไหร่จึงเหมาะสม และข้อควรระวัง? http://www.radiantpeach.com/banana-eat-it-every-day/ ไม่มีขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวัน แต่ขนาด 1,600–2,000 มก.ต่อวัน จัดว่าเพียงพอสำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง การรับประทานปริมาณ 12 กรัมขึ้นไป...