ยาและสุขภาพ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับยา การใช้ยา ความงาม และการดูแลสุขภาพ

โรคสมาธิสั้น ทานอาหารเสริมอะไรดี?

โรคสมาธิสั้น (ADD/ADHD) พบได้ในคนปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาพบว่า สาเหตุของโรคนี้อาจมาจากกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และอาหารประเภทน้ำตาล อาหารหวานๆ สารปรุงแต่งอาหาร การขาดสารอาหาร สารกันเสีย และอาจจะมาจากการแพ้อาหารบางชนิด อาการของโรคสมาธิสั้น ในเด็ก ได้แก่ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับกิจกรรมใด หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน วอกแวกบ่อย เบื่อง่าย จัดการการทำงานไม่เป็น ทำงานไม่ค่อยเสร็จ มักทำของหายบ่อย ไม่ค่อยฟัง หรือฟังไม่เป็น ทำตามคำสั่ง หรือคำแนะนำไม่ค่อยได้ หงุดหงิดง่าย บางครั้งก็กรีดร้องโวยวาย อยู่นิ่งไม่ค่อยได้...

กาบ้า (Gaba) คืออะไร? ช่วยสมองได้อย่างไร?

ปัจจุบันเราได้ยินคำว่า “กาบ้า” กันบ่อยมากขึ้น มีทั้งผสมอยู่ในนมข้าวพร้อมดื่ม และยังมีการพูดถึงในวงการสุขภาพกันบ่อยๆค่ะ กาบ้ามีส่วนสำคัญมากต่อการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ กาบ้า คืออะไร และเราควรทานเท่าไหร่? กาบ้า หรือ Gamma-aminobutyric acid เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยส่งข้อความสื่อสารระหว่างสมองและระบบประสาท กาบ้าถูกผลิตในสมองจากกลูตาเมต ซึ่งกระบวนการนี้ถูกกระตุ้นโดยวิตามินบี6 ที่แอคทีฟ และเอนไซม์ที่ชื่อว่า glutamate decarboxylase (GAD) กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำงานของเซลล์ประสาทในระบบประสาทลง ซึ่งช่วยบรรเทาอาการ เช่น วิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความเครียดได้ ดังนั้น กาบ้า...

มารู้จักกับ ไทแอมีน (Thiamine) และอาหารที่มีไทแอมีนสูงกัน!

ไทแอมีน หรือรู้จักกันอีกชื่อ ก็คือ วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่พบได้มากในพืชและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ในร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ได้ จึงต้องบริโภคเข้าไป ไทแอมีนจะถูกดูดซึมไปเก็บไว้ในตับ แต่จะเก็บไว้ได้เพียง 18 วันเท่านั้น เราจึงต้องมีการทานเข้าไปอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไทแอมีนสำคัญอย่างไร ไทแอมีน เป็นวิตามินที่สำคัญมากในการช่วยให้ร่างกายดึงพลังงานจากอาหารมาใช้ จำเป็นต่อการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต สำคัญมากต่อระบบประสาท โดยเฉพาะในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท หากขาดวิตามินตัวนี้ก็จะทำให้เกิดโรคเหน็บชาได้ ดูแลปกป้องสุขภาพสายตา ดีต่อระบบลำไส้และการย่อยอาหาร อาหารส่วนใหญ่มีไทแอมีนประกอบอยู่แล้วค่ะ ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับไทแอมีนต่อวันคือประมาณ 1.2 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย 1.1 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง 1.4-1.5 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร...

ยา”พารา” กินอย่างไรให้ไม่ทำลายสุขภาพ!

คงจะเป็นยาที่ได้ชื่อว่า สามัญประจำบ้าน ประจำโต๊ะทำงาน หรือแม้แต่ประจำกระเป๋าที่สุดแล้ว ยาพารา หรือ พาราเซตามอล เป็นยาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดเบื้องต้นระดับอ่อนถึงปานกลาง ลดไข้ ลดอาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน มีผลข้างเคียงน้อย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เรียกได้ว่า คิดอะไรไม่ออก ก็กินยาพารากันไว้ก่อน แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะนับว่าปลอดภัยอย่างไร แต่การใช้ยามากเกินความจำเป็นหรือใช้มากเกินไปในแต่ละครั้งก็อาจนำไปสู่ภาวะ ความเป็นพิษต่อตับ (hepatotoxicity) จนไปถึง ภาวะตับวายอย่างเฉียบพลัน (acute liver failure)ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เราควรจะกินยาพาราเซตามอลอย่างไรให้เหมาะสม? การทานยาพาราไม่ใช่ว่าทานมากแล้วจะช่วยลดอาการปวด หรือลดอาการได้มากอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกัน โดยคร่าวๆ แล้วมีวิธีการคำนวณปริมาณการทานยาต่อน้ำหนักตัวคือ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม...

สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้สุขภาพดีได้จริงหรือ?

สารต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนท์ (antioxidants) ได้โด่งดังในวงการสุขภาพมาเกือบ 20 ปี ถูกใช้ในวงการแพทย์ วงการสุขภาพ หรือแม้แต่สงการเครื่องสำอางต่างๆ มากมาย แล้วเจ้าแอนตี้ออกซิแดนท์นี้ ดีอย่างไรต่อร่างกายเรา? ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เราก็ต้องรู้จักเจ้า “อนุมูลอิสระ”กันก่อนว่ามันคืออะไรนะคะ สารอนุมูลอิสระ หรือ Free radicals เป็นโมเลกุลที่ทำลายเซลล์ที่สุขภาพดีในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคและอาการป่วยต่างๆ ที่ร้านแรงได้ เช่น — มะเร็ง, โรคหัวใจ, การเสื่อมของสมอง, ภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง เจ้าอนุมูลอิสระตัวร้ายเหล่านี้ เกิดขึ้นเองในร่างกาย...

โพรไบโอติก คืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพอย่างไรได้บ้าง

พูดถึงโพรไบโอติก หลายๆ ท่านคงนึกถึงโยเกิร์ต หรือเรื่องการขับถ่ายเป็นอย่างแรก แต่จริงๆ แล้ว โพรไบโอติกมีประโยชน์ด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายเหล่านี้จะไปอาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา จัดการเจ้าแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกาย ช่วยให้การดูดซึมสารอาหารดีขึ้น และยังมีวิจัยว่าการที่ร่างกายเรามีแบคทีเรียที่ดีในลำไส้อยู่มาก จะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคลำไส้รั่ว อาการแพ้ และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วร่างการของเราจะรับโพรไบโอติกได้จากทางไหนบ้าง? 1. โพรไบโอติกแบบอัดเม็ด ในปัจจุบันมีโพรไบโอติกที่บรรจุจลินทรีย์เหล่านี้ไว้เป็นพันล้าน ถึงล้านล้านตัวในแคปซูล ซึ่งในแบบแคปซูลเหล่านี้ มักจะมีแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่ร่างกายต้องการ สามารถทานได้ทุกวันเพื่อดูแลร่างกาย...

กินยาอย่างไร ไม่ให้ตับพัง!

ตับมีหน้าที่ในการขับยาที่หลงเหลือในร่างกายออก ผู้ที่ทานยาและอาหารเสริมเป็นจำนวนมากเป็นเวลานานๆ จึงมักกังวลว่า หากในระยะยาว ตับจะมีปัญหาหรือไม่ จะเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับหรือไม่ วันนี้เราจะมาดูกันนะคะว่าถ้าต้องทานยาบ่อยๆ เราจะดูแลร่างกายอย่างไรไม่ให้ตับพัง :) มียากว่า 900 ชนิดที่มีข้อมูลว่า มีผลต่อการทำงานของตับได้ แม้ว่าจะเป็นยาสมุนไพรก็ตาม แต่ยาและอาหารเสริมเหล่านี้จะมีผลต่อตับของคุณมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ อายุ เพศ การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคประจำตัวอื่นๆ เราสามารถช่วยตับเราได้ค่ะ หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่รับประทานยาและอาหารเสริมเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน หรือกังวลเรื่องสุขภาพตับ ลองทำตาม 3 ข้อง่ายๆ...

สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ หรือสารอื่น ๆ ในวิตามินเสริมอาหารที่คุณควรรู้!!!

http://nbestourous.blogspot.com/2014/05/chemical-receptor-in-brain.html   มีอะไรในวิตามินเสริมอาหารมากกว่าที่เราเห็น และบางครั้งก็มากกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก สารเพิ่มเนื้อ สารยึดเกาะ สารหล่อลื่น และสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีกฎให้ต้องระบุไว้บนฉลาก จึงพบบ่อยครั้งที่ไม่มีการระบุใด ๆ แต่หากคุณยังสงสัยว่าคุณกลืนอะไรลงไปบ้าง รายชื่อสารต่อไปนี้น่าจะช่วยบอกคุณได้ สารเจือจาง (Diluent) หรือสารเพิ่มเนื้อ (Filler) เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่น แต่ถูกเติมลงไปในเม็ดยาเพื่อเพิ่มขนาดของเม็ดให้สามารถผ่านกระบวนการอัดเม็ดได้ อย่างเช่น ไดแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ดี มักใช้ในยี่ห้อที่มีคุณภาพ เป็นสารที่สกัดจากหินแร่บริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว แต่บางครั้งก็อาจนำเอาซอร์บิทอลและเซลลูโลส (เส้นใยจากพืช) มาใช้แทน สารยึดเกาะ...

วิตามินA D E K ในรูปแบบแห้ง หรือแบบละลายน้ำ คืออะไร?

http://www.berkeleywellness.com/supplements/vitamins/article/should-anyone-still-take-vitamin-e สำหรับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น A D E และK จะมีในรูปแบบ “แห้ง” หรือแบบละลายน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบที่แนะนำสำหรับคนที่มักมีอาการเสียดท้องเมื่อต้องรับประทานน้ำมัน รวมทั้งผู้ที่เป็นสิวง่าย หรือเป็นโรคผิวหนังที่ไม่แนะนำให้รับประทานน้ำมัน และสำหรับผู้ที่พยายามลดน้ำหนักโดยรับประทานอาหารในกลุ่มไขมันให้น้อยที่สุด (วิตามินที่ละลายในไขมันต้องใช้ไขมันในการนำสารอาหารไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ หากเราต้องการอาหารไขมันต่ำ และต้องการรับประทานวิตามินที่ละลายในไขมัน แนะนำให้ใช้เป็นแบบแห้ง)

วิตามินเสริม แบบไหนที่ถูกขับออกไป หรือสะสมในร่างกาย?

http://www.popsugar.com/fitness/Vitamin-D-Calcium-Omega-3-Supplement-Benefits-23544715 ร่างกายของเรามีแนวโน้มที่จะขับสารต่าง ๆ ที่เรารับประทานออกมาทางปัสสาวะในเวลาประมาณสี่ชั่วโมง โดยเฉพาะบรรดาวิตามินที่ละลายน้ำมักเป็นไปตามกฎนี้เป็นส่วนมาก เช่น วิตามินบีและซี โดยเฉพาะหากรับประทานตอนท้องว่าง วิตามินบีและซีอาจจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงหลังรับประทาน วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค จะอยู่ในร่างกายเราประมาณ 24 ชั่วโมง ปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ตับได้นานขึ้น แต่วิตามินเอ และอีแบบแห้งจะไม่สามารถอยู่ในร่างกายได้นานเท่า