การบริหารร้านขายยา

แนวทางและความรู้ด้านการบริหารร้านขายยาอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีเพิ่มยอดขาย สร้างฐานลูกค้า ต่อยอดกำไรให้กับเภสัชกรชุมชนและร้านขายยา

เจาะแก่นเนื้อหา “ทิศทางและยุทธศาสตร์ของร้านยายุคดิจิตอล” (LAW, BIG DATA, HEALTH SYSTEM) ตอนที่ 2

จาก “งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)” วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 บรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช และอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์ เรียบเรียงเนื้อหาและเขียนบทความโดย ภก.วิรุณ เวชศิริ Chief Pharmacist Arincare เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองตอน โดยตอนที่หนึ่งนี้จะเป็นช่วงบรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช อดีตผู้บริหารสำนักงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตอนที่สองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและสถานการณ์ด้าน e-health โดยอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์...

เจาะแก่นเนื้อหา “ทิศทางและยุทธศาสตร์ของร้านยายุคดิจิตอล” (LAW, BIG DATA, HEALTH SYSTEM) ตอนที่ 1

จาก “งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)” วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 บรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช และอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์ เรียบเรียงเนื้อหาและเขียนบทความโดย ภก.วิรุณ เวชศิริ Chief Pharmacist Arincare เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองตอน โดยตอนที่หนึ่งนี้จะเป็นช่วงบรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช อดีตผู้บริหารสำนักงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตอนที่สองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและสถานการณ์ด้าน e-health โดยอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 4 — ตอนจบ)

ระบบบริหารจัดการร้านยาและบริการด้านสุขภาพอื่นๆ Arincare : ระบบบริหารจัดการร้านยาในระบบ Cloud ที่เปิดให้ร้านยาโดยเภสัชกรใช้งานฟรี จุดเด่นคือ เป็นระบบบริหารจัดการทั้งการขายยาหน้าร้าน และการบริหารงานหลังร้าน โดย software ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจร้านขายยาโดยเฉพาะ ใช้ผ่าน browser สามารถทำบันทึกรายงานการขายยาเพื่อส่งให้กับ อย. ได้ สามารถทำระบบทะเบียนประวัติคนไข้ ทั้งประวัติความเจ็บป่วยและการแพ้ยา และด้วยจุดเด่นของการเป็นระบบ cloud ทำให้เจ้าของร้านสามารถมองเห็นภาพรวมและบริหารงานจากที่ใดก็ได้ รวมทั้งสามารถเพิ่มการเชื่อมต่อบริการอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น เป็นช่องทางการชำระเงินแบบ e-payment ได้ และในอนาคตอาจมี...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 3)

ตอนที่ 3 บริการทางการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ในยุคที่ความเร็วในการสื่อสารไม่เป็นปัญหาเช่นสมัยก่อน ส่งผลให้การรักษาพยาบาลสามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ ทำให้สามารถเกิดระบบการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพที่เรียกว่า TeleHealth หรือ Telemedicine (โทรเวชกรรม/การแพทย์ทางไกล) โดยแนวคิดการให้บริการในลักษณะนี้ได้เริ่มต้นที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีบริษัทผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ชื่อ Teladoc โดยมีบริการที่เริ่มจากรับสายโทรศัพท์ให้คำปรึกษา จนปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยี Video Call หรือ การพูดคุยแบบเห็นหน้าค่าตาแบบเวลาจริง (real time) ทำให้คนไข้สามารถเข้าถึงแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรับบริการได้ค่อนข้างมาก ส่วนในอังกฤษจะมีผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ชื่อ Babylon Health ซึ่งได้นำระบบ A.I....

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 2)

ในปัจจุบันประชาชนไทยแทบจะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสารประจำกาย การเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานบางอย่างด้วยวิธีการติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยได้ ซึ่งไม่เพียงแค่แอปพลิเคชันเท่านั้น ที่สร้างความเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ [IoT (Internet of Thing)] หรือ อุปกรณ์ติดตามตัว (wearable) และเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งวงการแพทย์ได้เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “Digital Health” ซึ่งเป็นการสร้างการเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพเข้ามาระหว่างกัน นำมาแสดงผลและประมวลเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพสูงสุด ดังรูปแบบของภาพด้านล่างซึ่งเป็นบริการที่เป็นส่วนประกอบของ Digital Health จากข้อมูลโดย IQVIA ในปี 2017 พบว่า ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันด้านสุขภาพกว่า 318,000...

เปิดร้านยาใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก ด้วยโปรแกรมช่วยบริหารร้านขายยา ฟรี!

โอกาสดีสำหรับเภสัชกรและผู้ประกอบการร้านขายยาทุกท่าน หรือผู้ที่มีความสนใจจะเริ่มต้นธุรกิจร้านขายยา สามารถสมัครใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมบริหารร้านขายยา ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ARINCARE ร่วมโครงการ Total Solution 4 SME โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า Arincare ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) สร้างโอกาสให้เภสัชกร ร้านขายยา SME และผู้ที่สนใจเริ่มต้นกิจการร้านขายยา ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ “ใช้ ซอฟต์แวร์ ช่วยบริหารกิจการธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ” โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครใช้งานวันนี้ เริ่มต้นได้ทันที !! คลิกที่นี่ Arincare — ระบบบริหารจัดการร้านขายยา ใช้งานง่าย ใช้ฟรี...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 1)

ตอนที่ 1 ความก้าวหน้าของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพภายใต้ระบบนิเวศสาธารณสุขของไทย ในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในรูปแบบของอินเตอร์เน็ต เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคล สมาร์ทโฟน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราจนแทบจะเรียกได้ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้มัน ในปัจจุบันคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย เกือบ 10 ชั่งโมงต่อวันในวันทำงานหรือเรียน และ 11 ชั่วโมงในวันหยุด หรือกล่าวให้เห็นภาพคือ ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวันนั้นอยู่กับอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงคน Gen Y ที่เป็นวัยแรงงานรุ่นใหม่และใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตมากที่สุด แต่ยังรวมไปถึงวัยปู่ย่าตายายยุค Baby Boomer...

ปัจจัยและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา 2019

สวัสดีปีใหม่มิตรรักนักอ่านทุกท่านนะครับ เริ่มต้นวันทำงานใหม่ ผมขออนุญาตนำเสนอหัวข้อเปิดประเด็นแห่งปีที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมยา “ปัจจัยและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา 2019” ซึ่งได้แนวคิดหลักมาจากนักวิเคราะห์มือฉมังแห่งวงการยา พี่มนู สว่างแจ้ง อดีตกรรมการใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด ครับ เชิญอ่านแต่ละประเด็นได้ตามรายละเอียดดังนี้ครับ กฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ป.ร.) ป.ป.ช. ม.60 มีระบบร้องเรียนใหม่ ไม่ต้องลงชื่อคนร้อง เพียงบอกสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ ชื่อคนรับสินบน ชื่อหน่วยงาน หลักฐาน (รูป เสียง) ป.ป.ช. จะต้องนำเข้าระบบ...

ปวดกล้ามเนื้อ กินยาอะไรช่วยดี?

กล้ามเนื้อเคล็ด หรือเจ็บปวด ไม่ว่าจากการออกกำลังกาย หรือเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ทำให้เกิดอาการอักเสบภายในกล้ามเนื้อ ประคบแล้ว นวดยาแล้วทั้งร้อนและเย็น อาการก็ยังไม่หายสนิท เราจะสามารถทานยาอะไรบรรเทาได้บ้าง? ยาแก้อาการปวดกล้ามเนื้อมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ กลุ่มยาชนิดนี้ จะช่วยยับยั้งอาการอักเสบ โดยการยับยั้งเอนไซม์ไซโลออกซิเจน ซึ่งเป็นสื่อกลางตอบสนองการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด จึงช่วยลดอาการอักเสบและเจ็บปวดได้ ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ไอบูโพรเฟน แนะนำให้ทานยา 400–800 มก. ทุกๆ 6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3,200 มก....

LOCATION กับกิจการร้านขายยา

ถึงแม้ว่าคณะเภสัชศาสตร์ส่วนใหญ่จะสอนหลักการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้บรรดาพี่น้องเภสัชกรได้ออกไปเปิดร้านยาเพื่อบริการประชาชน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ความรู้ในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ได้เรียนมาจากห้องเรียนกลับไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ช่วยให้การดำเนินกิจการร้านยาประสบความสำเร็จ ทั้งการเข้าถึงประชาชน ผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการด้านยา หรือแม้กระทั่งผลสัมฤทธิ์เชิงธุรกิจล้วนมีผล จากหลายๆ ปัจจัยดังกล่าว มีเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่รู้ไม่ได้ในการเปิดธุรกิจร้านขายยา นั่นคือ ความรู้ในการเลือกทำเลสำหรับการเปิดร้านยา ซึ่งเปรียบเสมือนกับการกลัดกระดุมเม็ดแรก ที่หากติดไม่ดี ก็พลอยมีผลให้ต้องตามแก้การกลัดกระดุมเม็ดอื่นๆ ตามไปด้วยในอนาคต การเลือกทำเลที่ดีจะต้องผสมผสานทั้งศาสตร์ที่เรียนรู้กันได้ กับศิลป์ในการพินิจพิจารณา เมื่อก่อนเจ้าของกิจการหลายท่านเลือกทำเลโดยใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ ใช้ความช่างสังเกต การฝึกดูทำเลหลายๆ ที่ หรือแม้แต่หลักฮวงจุ้ย คนในสมัยก่อนอาศัยความกล้าได้กล้าเสีย คนที่เลือกได้ดีก็ประสบความสำเร็จในกิจการ ส่วนใครที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เงียบหายไป ในปัจจุบัน มีการเรียบเรียงความรู้ด้านทำเลมาเป็นหลักการเรียนการสอน และด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน...