FEATURED

เรื่องเด่นประเด็นร้อน และเรื่องที่น่าสนใจสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการร้านขายยา และเภสัชกร

Arincare ดูแลความปลอดภัยให้ข้อมูลของคุณ

รักษา Data ยิ่งชีพ!! การดูแลความปลอดภัยให้ข้อมูลของคุณบนระบบ Arincare

ความปลอดภัยของข้อมูลหรือ Data Security เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่ผู้ใช้งานและผู้ให้บริการระบบต้องระมัดระวังอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจก็มีความสำคัญถ้าถูกขโมยหรือนำไปใช้ในทางที่ส่งผลเสียต่อเจ้าของข้อมูลค่ะ (more…)

เจาะแก่นเนื้อหา “ทิศทางและยุทธศาสตร์ของร้านยายุคดิจิตอล” (LAW, BIG DATA, HEALTH SYSTEM) ตอนที่ 2

จาก “งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)” วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 บรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช และอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์ เรียบเรียงเนื้อหาและเขียนบทความโดย ภก.วิรุณ เวชศิริ Chief Pharmacist Arincare เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองตอน โดยตอนที่หนึ่งนี้จะเป็นช่วงบรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช อดีตผู้บริหารสำนักงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตอนที่สองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและสถานการณ์ด้าน e-health โดยอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์...

เจาะแก่นเนื้อหา “ทิศทางและยุทธศาสตร์ของร้านยายุคดิจิตอล” (LAW, BIG DATA, HEALTH SYSTEM) ตอนที่ 1

จาก “งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)” วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 บรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช และอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์ เรียบเรียงเนื้อหาและเขียนบทความโดย ภก.วิรุณ เวชศิริ Chief Pharmacist Arincare เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองตอน โดยตอนที่หนึ่งนี้จะเป็นช่วงบรรยายโดย ภญ.เนตรนพิศ สุชนวณิช อดีตผู้บริหารสำนักงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตอนที่สองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและสถานการณ์ด้าน e-health โดยอาจารย์ไพศาล ลิ้มสถิตย์...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 4 — ตอนจบ)

ระบบบริหารจัดการร้านยาและบริการด้านสุขภาพอื่นๆ Arincare : ระบบบริหารจัดการร้านยาในระบบ Cloud ที่เปิดให้ร้านยาโดยเภสัชกรใช้งานฟรี จุดเด่นคือ เป็นระบบบริหารจัดการทั้งการขายยาหน้าร้าน และการบริหารงานหลังร้าน โดย software ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจร้านขายยาโดยเฉพาะ ใช้ผ่าน browser สามารถทำบันทึกรายงานการขายยาเพื่อส่งให้กับ อย. ได้ สามารถทำระบบทะเบียนประวัติคนไข้ ทั้งประวัติความเจ็บป่วยและการแพ้ยา และด้วยจุดเด่นของการเป็นระบบ cloud ทำให้เจ้าของร้านสามารถมองเห็นภาพรวมและบริหารงานจากที่ใดก็ได้ รวมทั้งสามารถเพิ่มการเชื่อมต่อบริการอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น เป็นช่องทางการชำระเงินแบบ e-payment ได้ และในอนาคตอาจมี...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 3)

ตอนที่ 3 บริการทางการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ในยุคที่ความเร็วในการสื่อสารไม่เป็นปัญหาเช่นสมัยก่อน ส่งผลให้การรักษาพยาบาลสามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ ทำให้สามารถเกิดระบบการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพที่เรียกว่า TeleHealth หรือ Telemedicine (โทรเวชกรรม/การแพทย์ทางไกล) โดยแนวคิดการให้บริการในลักษณะนี้ได้เริ่มต้นที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีบริษัทผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ชื่อ Teladoc โดยมีบริการที่เริ่มจากรับสายโทรศัพท์ให้คำปรึกษา จนปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยี Video Call หรือ การพูดคุยแบบเห็นหน้าค่าตาแบบเวลาจริง (real time) ทำให้คนไข้สามารถเข้าถึงแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรับบริการได้ค่อนข้างมาก ส่วนในอังกฤษจะมีผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ชื่อ Babylon Health ซึ่งได้นำระบบ A.I....

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 2)

ในปัจจุบันประชาชนไทยแทบจะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสารประจำกาย การเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานบางอย่างด้วยวิธีการติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยได้ ซึ่งไม่เพียงแค่แอปพลิเคชันเท่านั้น ที่สร้างความเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ [IoT (Internet of Thing)] หรือ อุปกรณ์ติดตามตัว (wearable) และเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งวงการแพทย์ได้เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “Digital Health” ซึ่งเป็นการสร้างการเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพเข้ามาระหว่างกัน นำมาแสดงผลและประมวลเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพสูงสุด ดังรูปแบบของภาพด้านล่างซึ่งเป็นบริการที่เป็นส่วนประกอบของ Digital Health จากข้อมูลโดย IQVIA ในปี 2017 พบว่า ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันด้านสุขภาพกว่า 318,000...

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 (ตอนที่ 1)

ตอนที่ 1 ความก้าวหน้าของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพภายใต้ระบบนิเวศสาธารณสุขของไทย ในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในรูปแบบของอินเตอร์เน็ต เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคล สมาร์ทโฟน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราจนแทบจะเรียกได้ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้มัน ในปัจจุบันคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย เกือบ 10 ชั่งโมงต่อวันในวันทำงานหรือเรียน และ 11 ชั่วโมงในวันหยุด หรือกล่าวให้เห็นภาพคือ ประมาณ 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวันนั้นอยู่กับอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงคน Gen Y ที่เป็นวัยแรงงานรุ่นใหม่และใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตมากที่สุด แต่ยังรวมไปถึงวัยปู่ย่าตายายยุค Baby Boomer...

ปัจจัยและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา 2019

สวัสดีปีใหม่มิตรรักนักอ่านทุกท่านนะครับ เริ่มต้นวันทำงานใหม่ ผมขออนุญาตนำเสนอหัวข้อเปิดประเด็นแห่งปีที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมยา “ปัจจัยและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา 2019” ซึ่งได้แนวคิดหลักมาจากนักวิเคราะห์มือฉมังแห่งวงการยา พี่มนู สว่างแจ้ง อดีตกรรมการใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด ครับ เชิญอ่านแต่ละประเด็นได้ตามรายละเอียดดังนี้ครับ กฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ป.ร.) ป.ป.ช. ม.60 มีระบบร้องเรียนใหม่ ไม่ต้องลงชื่อคนร้อง เพียงบอกสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ ชื่อคนรับสินบน ชื่อหน่วยงาน หลักฐาน (รูป เสียง) ป.ป.ช. จะต้องนำเข้าระบบ...

LOCATION กับกิจการร้านขายยา

ถึงแม้ว่าคณะเภสัชศาสตร์ส่วนใหญ่จะสอนหลักการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้บรรดาพี่น้องเภสัชกรได้ออกไปเปิดร้านยาเพื่อบริการประชาชน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ความรู้ในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ได้เรียนมาจากห้องเรียนกลับไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ช่วยให้การดำเนินกิจการร้านยาประสบความสำเร็จ ทั้งการเข้าถึงประชาชน ผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการด้านยา หรือแม้กระทั่งผลสัมฤทธิ์เชิงธุรกิจล้วนมีผล จากหลายๆ ปัจจัยดังกล่าว มีเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่รู้ไม่ได้ในการเปิดธุรกิจร้านขายยา นั่นคือ ความรู้ในการเลือกทำเลสำหรับการเปิดร้านยา ซึ่งเปรียบเสมือนกับการกลัดกระดุมเม็ดแรก ที่หากติดไม่ดี ก็พลอยมีผลให้ต้องตามแก้การกลัดกระดุมเม็ดอื่นๆ ตามไปด้วยในอนาคต การเลือกทำเลที่ดีจะต้องผสมผสานทั้งศาสตร์ที่เรียนรู้กันได้ กับศิลป์ในการพินิจพิจารณา เมื่อก่อนเจ้าของกิจการหลายท่านเลือกทำเลโดยใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ ใช้ความช่างสังเกต การฝึกดูทำเลหลายๆ ที่ หรือแม้แต่หลักฮวงจุ้ย คนในสมัยก่อนอาศัยความกล้าได้กล้าเสีย คนที่เลือกได้ดีก็ประสบความสำเร็จในกิจการ ส่วนใครที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เงียบหายไป ในปัจจุบัน มีการเรียบเรียงความรู้ด้านทำเลมาเป็นหลักการเรียนการสอน และด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน...

รู้จักแผนการตลาดให้ร้านขายยา

การมีผลิตภัณฑ์สุขภาพชั้นเยี่ยม ผู้ให้บริการหน้าร้านที่เปี่ยมด้วยความรู้เชิงเทคนิค แต่หากต้องการให้ร้านที่เราเองรับผิดชอบมีการเติบโตอย่างมีทิศทาง เป็นไปตามเป้าหมายดำเนินงาน เภสัชกรผู้ประกอบกิจการร้านขายยาจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมการตลาดอย่างจริงจังและอย่างรู้จริง โดยขั้นตอนแรกสำหรับการทำตลาด คือ การวางแผนการตลาด (Marketing Planning) หลายท่านอาจจะคิดว่า สามารถบริหารงานได้โดยไม่ต้องใช้แผนการตลาด แต่ถ้ามาดูเนื้อในจริงๆ แล้ว หลายคนดังกล่าวนั้นอาจจะไม่รู้จักก็เป็นได้ว่าแผนการตลาดที่ว่าคืออะไร ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจำเป็นต้องมีแผนการตลาด ซึ่งจะบอกถึงกิจกรรมที่ผู้ประกอบการต้องทำอย่างละเอียด ที่สำคัญคือ ต้องไม่ถูกเก็บดองไว้โดยไม่นำมาใช้ ถ้าแผนถูกนำมากางดูบ่อยๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการจัดการธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย ได้ประสิทธิผล อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักกับแผนการตลาด แผนการตลาดคืออะไร แผนการตลาดเป็นเส้นทางที่จะนำให้ธุรกิจเราก้าวต่อไปและควรมีเนื้อหาครอบคลุม 3 เรื่องหลักๆ...