ยาและสุขภาพ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับยา การใช้ยา ความงาม และการดูแลสุขภาพ

แผลสด แผลแห้ง ทำแผลต่างกันอย่างไร?

ในชีวิตประจำวัน แม้เราไม่อยากให้เกิด แต่อุบัติเหตุก็เกิดได้แบบที่เราไม่ทันตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ เช่น หกล้มเข่าถลอก มีดบาด ชนขอบโต๊ะ หรือจะเป็นอุบัติเหตุใหญ่ขึ้นมา เช่น รถล้ม ผิวฉีกขาดจากการใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งถ้าหากล้างทำความสะอาด และทำแผลไม่ดีแล้ว ก็อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ แต่ถ้าหากเรามีความรู้ในการทำแผลที่ถูกต้อง ก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น แผลเปียก — คือแผลใหม่ แผลที่ยังไม่แห้ง มีสารขับหลั่งมาก มีวิธีการทำแผลดังนี้ : เช็ดรอบๆ แผลด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ วนจากขอบแผลด้านในออกมาด้านนอกประมาณ 2–3 นิ้ว ไม่เช็ดวนซ้ำ และไม่เช็ดบนแผลโดยตรง...

“ไอ” กินยาอะไรถึงหาย ?

อาการไอ เป็นอาการทางธรรมชาติของร่างกายในการขับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน อากาศแห้ง สารระคายเคือง เกสรดอกไม้ หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงฉับพลัน เป็นต้น อาการไอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อาการไอเฉียบพลัน และ อาการไอเรื้อรัง (มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 - 8 สัปดาห์) ซึ่งอาจเกิดจากโรคที่ร้ายแรง หรือมีพยาธิสภาพในทางเดินหายใจ เช่น มีเนื้องอก ปอดอักเสบ เป็นต้น แม้อาการไอจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าหากเราไอต่อเนื่องนานๆ หนักๆ...

ยาถ่ายพยาธิ ทานอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย?

พยาธิ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนได้ยินมาตั้งแต่เด็ก และหลายๆ คนก็อาจเคยทานยาถ่ายพยาธิมาแล้วหลายชนิด บางคนมีพยาธิมากจนสามารถสังเกตได้บนผิวหนังของร่างกาย ทำให้เสียบุคลิก หากในบางราย รักษาไม่ทัน พยาธิจะเข้าไปอยู่ในอวัยวะสำคัญของร่างกาย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ ยาถ่ายพยาธิ (Anthelmintic Drugs) นั้น จะออกฤทธิ์หยุดการเคลื่อนไหวของพยาธิ หรือทำให้พยาธิอดตาย จึงถูกร่างกายขับออกมาผ่านการขับถ่ายโดยง่าย ยาถ่ายพยาธิบางชนิด ก็สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการฟักตัวของไข่พยาธิได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนของพยาธิในร่างกายลง ยาถ่ายพยาธิแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งใช้กับพยาธิต่างกันไป ดังนี้ : อัลเบนดาโซล — นิยมใช้โดยแพทย์ เพราะรักษาพยาธิได้เกือบทุกชนิดในไทย ทั้งพยาธิตัวกลม และพยาธิตัวตืด ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์...

ยาไมเกรน กินผิด ระวังอันตราย!

ไมเกรนคืออะไร? ปวดไมเกรน คือ อาการที่เกิดจากการขยายและหดของหลอดเลือดที่กะโหลกศีรษะ ซึ่งอาจจะมีอาการนำก่อนเกิดอาการปวดราวๆ 30 นาที เช่น ตาพร่า เห็นภาพหรือแสงสีผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง เกิดอาการคัน แสบร้อน ชา บริเวณผิวหนัง หรือหากไม่มีอาการเหล่านี้ ก็อาจมีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง และกลิ่นมากกว่าปกติ เพลีย หิวอาหาร หิวน้ำ ซึ่งอาการแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นก่อนการปวดหลายชั่วโมง หลังจากนั้นจะเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียว บางครั้งก็สองข้างอยู่นานประมาณ 2 – 3...

ช่วงอากาศเปลี่ยน ผิวหนังเป็นผื่นแพ้ขึ้น แก้อย่างไรดี?

ประเทศไทยช่วงนี้เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตก บางทีฤดูหนาวก็มีฝนตกลงมา เดี๋ยวแดดจ้าร้อนจัด เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ผิวหนังเราต้องเจอกับสภาวะความเปลี่ยนแปลง เกิดเป็น “ผื่นภูมิแพ้” ขึ้นมาให้รำคาญใจ โดยผิวจะแห้งแตก เป็นขุย หรือมีอาการอักเสบ และมีอาการคันยุบยับๆ ให้เกากันสนุก แต่เมื่อเกาแล้ว อาการก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก และยิ่งในบางท่าน เกากันจนเลือดออกเลยทีเดียว อย่ามองข้ามอาการเหล่านี้! อาการผื่นภูมิแพ้เหล่านี้ไม่ได้ส่งผลแค่ร่างกายอย่างเดียว ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากการนอนหลับไม่เพียงพอ และการขาดความมั่นใจจากผิวหนังที่ไม่สวย เราป้องกันได้ ดังนี้ 1. ดูแลผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ผิวแห้ง เป็นภาวะที่ผิวขาดน้ำและอ่อนแอ...

วิตามิน B6 มีประโยชน์มากมายที่ขาดไม่ได้ !!

กลุ่มวิตามินบี 6 เป็นกลุ่มของ ไพริด็อกซิน (Pyridoxine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และถูกขับออกจากร่างกายใน 8 ชั่วโมง ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้วิตามินนี้ในการสร้างแอนติบอดี้และเม็ดเลือดแดง ใช้ในการดูดซึมวิตามินบี 12 และในการสร้างกรดไฮโดรคลอริก (น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร) และแมกนีเซียม โดยปกติแล้วในผู้ใหญ่ ควรได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณ 1.6 – 2.0 มิลลิกรัมทุกวัน แต่หากคุณเข้ากลุ่มดังต่อไปนี้ ควรจะทานวิตามินบี 6 เพิ่มมากขึ้น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่รับประทานโปรตีนมาก...

โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ มีโรคร้ายที่แฝงมากับน้ำมากมาย โดยเฉพาะน้ำที่ท่วมขังไม่ได้รับการระบาย เพราะมักจะมีสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ แฝงมาด้วย มาระวังโรคร้ายต่างๆ ที่แฝงมากับน้ำท่วมกัน 1. โรคฉี่หนู (โรคเลปโตสไปโรซิส) โรคระบาดที่ติดมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของหนู วัว ควาย สุนัข และแมว โดยแบคทีเรียเหล่านี้จะเข้าไปทางบาดแผล ตา และปาก ทำให้เกิดอาการตัวร้อน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือหลัง จากนั้นจะค่อยๆ มีอาการตาแดง สู้แสงไม่ได้ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ซึม หากเชื้อเข้าไปถึงสมอง จะมีอาการเพ้อ ป้องกันโดย :...

ท้องเสีย ควรกินยาอะไรดี?

หลายๆ คนคงเคยมีอาการท้องเสีย ซึ่งก็คือ อาการถ่ายอุจจาระเหลว เป็นน้ำ ถ่ายถี่มากกว่าปกติ หากท้องเสียแล้วมักรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง ยิ่งหากมีอาการอาเจียน อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาการท้องเสียเกิดได้จากสาเหตุมากมาย เช่น ทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือไม่สด หรือมีภาวะแพ้อาหาร อาจเกิดได้จากความผิดปกติของอารมณ์และจิตใจก็ได้เช่นกัน หรือบางท่านอาจเกิดอาการท้องเสียได้จากการรับสารเคมีที่เป็นพิษเข้าไปเกินขนาด ซึ่งอาจจะเกิดจากการสูดดม หรือสัมผัสในทุกๆ วันจากสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ก็เป็นได้ ในบางกรณี อาการท้องเสียอาจเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ เช่น อหิวาต์ ทัยฟอยด์ หรือเกิดจากการกินยาบางชนิด หากมีอาการท้องเสียอย่างหนัก มีอาการอาเจียนร่วม ตาพร่า...

ยาคุมฉุกเฉิน คุณใช้ถูกหรือเปล่า?

ยาคุมฉุกเฉิน ชื่อก็บอกว่า ใช้คุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ในเวลาที่ฉุกเฉินกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิด หรือ เกิดความผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยขาด กรณีมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจ หรือฝ่ายหญิงลืมทานยาคุมกำเนิด ยาคุมฉุกเฉินจะช่วยยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ และสร้างเมือกที่ปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ ยาคุมฉุกเฉิน ทานตอนไหนดีที่สุด? หากทานทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิด แต่โดยทั่วไปแล้วควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง วิธีการทานยาคุมกำเนิดมี 2 แบบ ส่วนใหญ่หากซื้อตามร้านขายยาทั่วไปจะมี 2 เม็ด วิธีการทานแบบแรก คือ ทานเม็ดแรกทันที หรือภายใน 72 ชั่วโมง และทานเม็ดที่...

ยาคุมกำเนิด มือใหม่จะเริ่มใช้อย่างไรดี?

คุณผู้หญิง หรือสาวๆ หลายคนอาจกำลังคิดเริ่มทานยาคุมกำเนิดเป็นครั้งแรก แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ รู้สึกอายที่จะเข้าไปสอบถามเภสัชกร วันนี้เราเลยนำข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาคุมกำเนิด และการทานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมาฝากกันค่ะ ยาคุมกำเนิด มีกี่แบบ? ยาคุมกำเนิดมีทั้งแบบ 21 เม็ด (พักระหว่างแผง 7 วัน) และ 28 เม็ด (กินเม็ดแป้ง 7 วัน ทำให้ไม่ต้องพักระหว่างแผง) ควรเริ่มทานเม็ดแรกช่วงที่ประจำเดือนมา 1 – 5 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ตั้งครรภ์ ในตลาดมียาคุมกำเนิดอยู่ 2 ประเภท คือ...