บทความและสาระน่ารู้ดีๆ จากทีมงาน Arincare

Arincare Update — เวอร์ชั่น Beta 1.4.0

January 20, 2017 Arincare

สวัสดีค่ะ Arincare มีการอัพเดทระบบสู่เวอร์ชั่นใหม่ Beta 1.4.0 ค่ะ โดยการอัพเดทระบบครั้งนี้มุ่งเน้นที่ยกเครื่องระบบการรายงานแบบใหม่ที่ทำให้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีรายงานใหม่ และระบบช่วยเตือนใน POS เราไปดูรายละเอียดกันได้เลยค่ะ =) New Feature #1: ระบบรายงานแบบใหม่ ในเวอร์ชั่นนี้ระบบรายงานได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดค่ะ โดยระบบใหม่นี้ผู้ใช้งานสามารถจัดเรียงข้อมูลตามหัวข้อ (Sort) ได้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ของข้อมูลรายงานโดยที่ไม่ต้องโหลดใหม่ทั้งหน้าเพื่อให้ดูข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งในรายงานการขายและรายงานคลังสินค้า นอกจากนั้นระบบการพิมพ์รายงานก็ได้รับการ Upgrade ค่ะ เมื่อผู้ใช้งานกดปุ่ม “พิมพ์รายงาน” แล้วจะมีการนำเสนอรูปแบบการพิมพ์โดยมีการแยกย่อหน้าที่ชัดเจน...

06 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

ทำใบสั่งซื้อสินค้า ใบสั่งซื้อ คือ เอกสารสั่งซื้อยาหรือสินค้าที่เจ้าของบริษัทส่งให้เจ้าหนี้เพื่อแจ้งเจ้าหนี้ว่าต้องการสินค้าประเภทใด ปริมาณเท่าใด ราคาเท่าไร ซึ่งรายละเอียดจะแจ้งไว้ในใบสั่งซื้อ “สำหรับการสร้างใบสั่งซื้อจะเป็นสิทธิเฉพาะของเจ้าของบริษัทเท่านั้น” เมื่อเข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) แล้วให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “คลังสินค้า” แถบเมนูด้านบน จากนั้นคลิกที่ “รายการใบสั่งซื้อสินค้า” แถบเมนูด้านบนซ้ายมือ จากนั้นให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “สร้างใบสั่งซื้อ” ทางด้านขวามือ เพื่อสร้างใบสั่งซื้อสินค้าใหม่ เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาที่หน้า “สร้างใบสั่งซื้อสินค้า” จะมีช่องว่างให้ใส่รายละเอียดต่าง ๆ โดยเฉพาะ “ชื่อผู้จำหน่าย” หากผู้ใช้งานเคยลงข้อมูลใน “เจ้าหนี้” หรือ supplier ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ชื่อเจ้าหนี้ในช่อง “ชื่อผู้จำหน่าย” แล้ว ระบบจะทำการขึ้นข้อมูลรายชื่อผู้จำหน่ายที่มีอยู่ในระบบขึ้นมาให้อัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ในทุก ๆ ครั้ง สำหรับการเพิ่มรายการสินค้า ในช่อง “ชื่อสินค้า” ผู้ใช้งานสามารถสแกนบาร์โค๊ด...

07 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

ทำใบรับสินค้า ใบรับสินค้า คือ เอกสารที่เจ้าของบริษัททำขึ้นหลังจากได้รับยาหรือสินค้าจากเจ้าหนี้ เจ้าของบริษัทจะต้องทำการตรวจนับสินค้าคู่กับใบกำกับสินค้าที่เจ้าหนี้ส่งมาให้ว่าครบถ้วนหรือไม่ สำหรับการสร้างใบรับสินค้าจะเป็นสิทธิของผู้ใช้งานที่เป็น administrator หรือเจ้าของบริษัทเท่านั้น เมื่อเข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) แล้วให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “คลังสินค้า” แถบเมนูด้านบน จากนั้นคลิกที่ “รายการใบรับสินค้า” แถบเมนูด้านบนซ้ายมือ จากนั้นให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “เพิ่มใบรับสินค้า” ทางด้านขวามือ เพื่อสร้างใบรับสินค้าใหม่ เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาที่หน้า “สร้างใบรับสินค้า” จะมีช่องว่างให้ใส่รายละเอียดต่าง ๆ โดยเฉพาะ “ชื่อผู้จำหน่าย” หากผู้ใช้งานเคยลงข้อมูลใน “เจ้าหนี้” หรือ supplier ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ชื่อเจ้าหนี้ในช่อง “ชื่อผู้จำหน่าย” แล้ว ระบบจะทำการขึ้นข้อมูลรายชื่อผู้จำหน่ายที่มีอยู่ในระบบขึ้นมาให้อัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ในทุก ๆ ครั้ง สำหรับ “สาขาที่รับสินค้า”...

08 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

การเพิ่มข้อมูลสมาชิกและประวัติคนไข้ ในApp สำหรับข้อมูลสมาชิกและประวัติคนไข้ การค้นหาประวัติสมาชิกนั้นจะรวมถึงประวัติทางการแพทย์ของคนไข้ การทำงานตรงจุดนี้ผู้ใช้งาน จะต้องอ่านและยอมรับใน “ข้อตกลงเรื่องเงื่อนไขการใช้บริการ” และ “นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน” แล้ว Arincare สงวนสิทธิ์เข้าการใช้งานเฉพาะเภสัชกรเจ้าของร้านยาที่ได้รับการยืนยันแล้วเท่านั้น เริ่มต้นการเพิ่มข้อมูลสมาชิกและประวัติคนไข้ โดยเข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) แล้วให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “สมาชิกการค้า” ตรงแถบเมนูด้านบน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “สมาชิกและประวัติคนไข้” ตรงแถบเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม “สมัครสมาชิก” ทางด้านขวามือ เพื่อเพิ่มข้อมูลใหม่ เมื่อเข้ามาสู่หน้าเพิ่มสมาชิกใหม่แล้ว ให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลที่สำคัญสมาชิกคนไข้ใหม่ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับคนไข้ต่างชาติสามารถใช้หมายเลขพาสปอร์ตแทนได้ สำหรับ”รายการแพ้ยา” ในส่วนของ “ชื่อยา” ที่แพ้นั้น ให้ผู้ใช้งานคลิกที่ปุ่ม “เพิ่ม” เพื่อเพิ่มชื่อยา โดยสามารถค้นหาได้จากการสแกนบาร์โค๊ด และการค้นหาจากชื่อยา...

09 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

การใส่สินค้าตั้งต้น สำหรับเริ่มใช้งาน การใส่สินค้าตั้งต้น สำหรับเริ่มใช้งาน หมายถึง การที่เจ้าของบริษัทเริ่มต้นใส่สินค้าที่มีอยู่แล้วในร้านเข้าสู่ระบบโดยที่ไม่ได้สั่งซื้อใหม่ จะเริ่มต้นที่สร้าง เจ้าหนี้ใหม่ที่เป็นชื่อบริษัทของเจ้าของเอง และรับสินค้าเข้าระบบด้วยตนเอง *** “เจ้าหนี้” ในระบบของ Arincare หมายถึง “Supplier” คนหรือองค์กรที่จัดหายาและสินค้าอื่น ๆ ให้กับร้านขายยาของเจ้าของบริษัท และการรับสินค้ามาขายต่อ ก็จะสั่งซื้อสินค้าจากเจ้าหนี้ แล้วเจ้าหนี้ก็จะดำเนินการจัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้า การใส่สินค้าตั้งต้น สำหรับเริ่มใช้งานจะเป็นสิทธิเฉพาะของเจ้าของบริษัทเท่านั้น เริ่มต้นการเพิ่มเจ้าหนี้โดยไปที่หน้าหลักของ “Back office” แล้วคลิกที่ “สมาชิกการค้า” ตรงแถบเมนูด้านบน จากนั้นให้คลิกที่ “การจัดการเจ้าหนี้” จากนั้นผู้ใช้งานสามารถทำการเพิ่มเจ้าหนี้โดยคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มเจ้าหนี้” ด้านขวามือ เมื่อเข้ามาที่หน้าข้อมูลเจ้าหนี้แล้ว ให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลที่สร้างขึ้นเองตามรายการที่ให้มา...

10 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

การสร้างล๊อตสินค้าจำลอง (Dummy) สำหรับนำไปขายก่อน การสร้างล๊อตสินค้าจำลอง (Dummy) จะเป็นการเพิ่มสินค้าเพื่อนำไปขายใน POS อย่างง่าย รวดเร็ว ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการขายสินค้านั้นแต่ทำการรับเข้าไม่ทัน จึงต้องการสร้างสินค้าในคลังเพื่อให้นำไปขายได้ก่อน การเพิ่มสินค้าแบบ Dummy จะไม่มีการระบุวันหมดอายุของยา และราคาต้นทุนของสินค้า และที่มาของสินค้า สำหรับสินค้าที่ไม่มีจำนวนในสต๊อก เมื่อมาที่หน้า POS จะขึ้นข้อมูลสินค้า แต่จะไม่สามารถนำไปลงตะกร้าเพื่อทำการขายได้ (สินค้าที่ไม่มีในสต๊อก ระบบจะขึ้นไอคอน “รูปตะกร้ารถเข็น” เป็นสีเขียวอ่อน) ดังนั้นจึงต้องการสร้างสินค้าในคลังเพื่อให้นำไปขายได้ก่อน 1.เข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) แล้วให้ผู้ใช้งานคลิกที่ “ข้อมูลสินค้า” ตรงแถบเมนูด้านบน...

11 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

การสร้างสินค้าใหม่ การสร้างสินค้าใหม่ คือการสร้างฐานข้อมูลสินค้าที่ไม่มีในระบบฐานข้อมูลกลาง หรือสินค้าที่ไม่ใช่ยา เช่น อาหารเสริม เครื่องดื่ม นงผง ฯลฯ เนื่องจากบางร้านขายยาไม่ได้ขายเฉพาะแค่ยาเท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถใส่ข้อมูลของสินค้าลงระบบได้โดยการสร้างสินค้าใหม่นั้นเอง เริ่มต้นการสร้างสินค้าใหม่โดยการเข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ข้อมูลสินค้า” ตรงแถบเมนูด้านบน จากนั้นไปคลิกที่ “ข้อมูลสินค้า” ตรงแถบเมนูด้านซ้ายบน หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม “เพิ่มสินค้า” ทางด้านขวามือหลังช่องค้นหาสินค้า เมื่อเข้ามาที่หน้าข้อมูลสินค้าแล้ว ให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลของสินค้าที่ต้องการบันทึกเข้าระบบ สำหรับ “ชื่อเรียกเฉพาะ” จะเป็นชื่อสินค้าที่ร้านค้าเรียกกันเฉพาะภายในร้าน (ชื่อเล่นยา) สำหรับ “บริษัทผู้ผลิต” ผู้ใช้งานสามารถค้นหาจากชื่อในช่อง “เลือกบริษัทผู้ผลิต” ได้เลย “Generic Name” หรือ...

12 Arincare Tutorial

November 2, 2016 Arincare

การเพิ่มหน่วยนับสินค้าในระบบ การเพิ่มหน่วยนับสินค้าในระบบ ไว้สำหรับสินค้าที่มีหลายหน่วย เช่น ยาหนึ่งตัวสามารถขายได้ทั้ง กล่อง แผง และเม็ด ดังนั้นผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสร้างข้อมูลใหม่ เพียงแค่เพิ่มหน่วยนับสินค้าของสินค้าตัวนั้นในระบบก็เพียงพอ เริ่มต้นการสร้างสินค้าใหม่โดยการเข้าระบบมาที่ส่วนบริหารจัดการหลังบ้าน (Back Office) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ข้อมูลสินค้า” ตรงแถบเมนูด้านบน จากนั้นไปคลิกที่ “ข้อมูลสินค้า” ตรงแถบเมนูด้านซ้ายบน จากนั้นไปที่แถบ “ค้นหาสินค้า” ให้ผู้ใช้งานยิงบาร์โค๊ดสินค้า หรือ ค้นหาจากชื่อสินค้า เมื่อได้ชื่อสินค้าที่ต้องแล้วให้ผู้ใช้งานคลิกที่ปุ่ม “ดินสอ” ตรงแถบเมนูด้านหลังชื่อสินค้า เพื่อทำการแก้ไขข้อมูล เมื่อเข้าสู่หน้าแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มหน่วยรับสินค้าได้โดยการ ไปที่ช่อง “เลือกหน่วย” เพื่อทำการเลือกหน่วยสินค้า จากนั้นให้คลิกปุ่ม “เพิ่มหน่วย” เมื่อผู้ใช้งานเพิ่มหน่วยรับสินค้าเรียบร้อยแล้ว...

03 Arincare Tutorial

October 31, 2016 Arincare

การดูข้อมูลคนไข้พร้อมประวัติการซื้อยาใน ARINCARE POS ผู้ใช้งานระบบ ARINCARE POS สามารถดูข้อมูลเบื้องต้นของคนไข้ที่มาซื้อยาเพื่อเช็คประวัติการรักษา ประวัติการแพ้ยา และประวัติการซื้อยาในช่วงไม่เกิน 6 เดือนของคนไข้คนนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เภสัชกรสามารถให้คำปรึกษาแก่คนไข้ได้ดีขึ้นพร้อมทั้งมีข้อมูลในการจ่ายยาที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการเข้ามาหน้าหลักของPOS แล้วไปที่ปุ่ม “ค้นหาข้อมูลสมาชิก” ด้านบนขวามือ จากนั้นระบบจะแสดงหน้าค้นหาข้อมูลลูกค้าขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานใส่ หมายเลขสมาชิก เบอร์มือถือ หรือเลขที่บัตรประชาชนของคนไข้อย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นให้คลิกที่ไอคอนรูปแว่นขยาย หรือกดปุ่ม Enter เพื่อค้นหาประวัติคนไข้ เมื่อใส่ข้อมูลและค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงเลขสมาชิกและชื่อของคนไข้ ผู้ใช้งานควรตรวจสอบยืนยันตัวตนกับคนไข้โดยถามชื่อของคนไข้ก่อนว่าใช่บุคคลเดียวกันหรือไม่ จากนั้นคลิกไปที่ปุ่ม “เลือก” ระบบจะแสดงข้อมูลคนไข้บนแถบเมนูด้านขวามือตามรูป ผู้ใช้งานสามารถคลิกไปที่ปุ่ม “ดูรายละเอียด” เพื่อเข้าไปดูข้อมูลของคนไข้...

04 Arincare Tutorial

October 31, 2016 Arincare

การขายสินค้าและการพักรายการขาย สำหรับการขายสินค้าในระบบ POS สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. ผู้ใช้งานสามารถยิงบาร์โคดสินค้าได้โดยตรงในช่องค้นหาสินค้า เมื่อสแกนบาร์โคดสินค้าแล้ว ระบบจะขึ้นมาหน้าใส่จำนวนสินค้าให้ผู้ใช้ระบุเลือกจำนวนที่ขาย จากนั้นสามารถคลิกที่ปุ่ม “Add to cart” หรือกดปุ่ม Enter เพื่อทำการขายต่อไป โดยจำนวนที่ขายนั้นต้องไม่เกินกว่า “จำนวนคงเหลือ” ของสินค้านั้นในสต็อค เมื่อคลิกปุ่ม “Add to cart” แล้วสินค้านั้นจะถูกบรรจุลงตะกร้า ระบบจะแสดงหน้าPOS ในลักษณะนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ทำการขายต่อ 2. สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีปืนยิงบาร์โคด ผู้ใช้ระบบสามารถคลิกเข้าไปในช่องค้นหาสินค้า โดยพิมพ์ชื่อของสินค้า...