HEALTHCARE

หญิงท้อง วิตามินคนท้อง วิตามินหญิงท้อง

10 วิตามินบำรุง คุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดของลูกน้อยในครรภ์ และเพื่อสุขภาพของตัวคุณแม่เองอีกด้วย ********************************************************* กรดโฟลิก กรดโฟลิกจะช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ คือ ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง กรดโฟลิกจะช่วยให้เด็กสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ สตรีมีครรภ์ควรรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม ทุกวัน โดยเริ่มรับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องไปจนถึง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี ธาตุเหล็ก การตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนปกติ เพื่อเสริมสร้างส่วนของทารกและส่วนของมารดา โดยหญิงตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กตลอดการตั้งครรภ์ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม...

อาหาร เพิ่มพลังสเปิร์ม เพิ่มอสุจิ

7 อาหาร เพิ่มความปึ๋งปั๋งและพลังสเปิร์ม

7 อาหารหาทานง่าย ที่ช่วยเพิ่มปริมาณและความแข็งแรงให้กับสเปิร์มของคุณผู้ชาย ************************************************************************ หอยนางรม  เป็นอาหารทะเลที่มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีสูงมาก ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และยังมีสารโดพามินซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยเพิ่มความสนุกเวลามีเพศสัมพันธ์ และยังมีโอเมก้า 3 ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบประสาทในด้านการตอบสนองทางเพศอีกด้วย หน่อไม้ฝรั่ง เป็นผักที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อาทิ สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 และบี 6 วิตามินเคโฟเลต อีกทั้งยังมีสารกลูตาไธโอนและวิตามินซี ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณและเพิ่มความแข็งแรงให้กับสเปิร์มอีกด้วย แตงโม ...

วิธีคุมกำเนิด

5 วิธีคุมกำเนิด สำหรับผู้ยังไม่พร้อมจะมีเบบี๋

5 วิธีคุมกำเนิด สำหรับผู้ยังไม่พร้อมจะมีเบบี๋ นอกจากการสวมถุงยางอนามัยของคุณผู้ชายแล้ว คุณผู้หญิงก็สามารถป้องกันและเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวได้ด้วยวิธีต่างๆ ที่แสนจะง่ายดาย เช่น การทานยาเม็ดคุมกำเนิด แปะแผ่นคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด และการใช้ห่วงคุมกำเนิด   การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวของคุณผู้หญิงนั้น มีวิธีป้องกันและเลือกใช้วิธีคุมกำเนิด ได้ด้วยวิธีต่างๆ ที่แสนจะง่ายดาย ดังนี้   ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงหากกินอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ปัจจุบันยาคุมกำเนิดในท้องตลาด มี 2 ประเภท คือ แบบ 28...

เด็กเป็นไข้ โรคในเด็ก โรคที่ต้องรู้จักในเด็ก

5 โรคควรระวัง สำหรับลูกน้อยแรกเกิด-1ปี

5 โรคควรระวัง สำหรับลูกน้อยแรกเกิด-1ปี เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก เป็นวัยที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ เรามาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวังให้กับลูกน้อย *********************************************************** 1) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) สามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ  ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B อาการป่วยจะเริ่มปรากฎหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน โดยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ...

โรคหลอดเลือดสมอง

อาการเฉียบพลัน ช้าเพียงนิด ชีวิตเปลี่ยน

สัญญาณอันตราย ที่เตือนว่าต้องนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันทีคือ การปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลัน อาเจียนพุ่ง หรือ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง จนเสียการทรงตัว เพราะนี่คืออาการของภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง หรือโรคเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งอาจทำให้เกิดอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ‘พูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง’ หากเกิดอาการเหล่านี้กับคุณหรือคนใกล้ชิด ขอให้พึงตระหนักว่า คุณมีเวลาเพียง 3 ชั่วโมง ในการฉีดยาละลายลิ่มเลือด หรือขยายหลอดเลือด เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเป็นอัมพาต หรือ อัตราภาวะทุพพลภาพ จากการเกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง หรือโรคเลือดสมอง (Stroke)...

โรคมือปากเท้าในเด็ก

โรคมือปากเท้าในเด็ก โรคมือเท้าปากเป็นมากในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโตและวัยผู้ใหญ่ โดยที่อาการของโรคมือเท้าปากในเด็กที่โตกว่าหรือในผู้ใหญ่จะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้ย่างไร? โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อจากการรับเชื้อโดยตรงทางปาก ซึ่งการรับเชื้อทางปาก  พูดง่ายๆก็คือ การที่เด็กมีเชื้ออยู่ที่มือแล้วนำของเล่น ของกินที่ถูกสัมผัสด้วยน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่มีจากผู้ที่มีเชื้อ เช่น การไอ จาม เป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร กินน้ำกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ก็สามารถติดต่อได้เช่นกัน...

วัคซีนเด็กในแต่ละช่วงเดือน

วัคซีนเด็กในแต่ละช่วงเดือน การให้เด็กเล็กฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะวัคซีนจะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน และปกป้องการเจ็บป่วยต่างๆได้ เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิด คุณแม่สามารถทราบได้จากกุมารแพทย์ว่าลูกควรได้รับวัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนจำเป็นเมื่อใดชนิดใดบ้าง   วัคซีนเด็กพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย วัคซีนขั้นพื้นฐานคือวัคซีนจำเป็นที่เด็กทุกคนควรจะได้รับตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2563 ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กไทยในแต่ละช่วงวัย  ดังนี้ วัคซีนวัณโรค (BCG) ฉีดแรกคลอด ส่วนมากฉีดที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านบริเวณที่ไหล่ซ้ายหรือสะโพก วัคซีนตับอักเสบบี (HBV) ควรฉีดตั้งแต่แรกเกิดและ 1 เดือน 6 เดือน ตามลำดับ วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DPwT)ควรฉีดตามช่วงอายุตั้งแต่ 2,...

ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ในเด็กต่างกันอย่างไร

โรคไข้หวัด ไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มักพบได้เป็นประจำ เด็กๆมักเป็นกันมากในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน การติดต่อของเชื้อหวัดสามารถติดต่อได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูกหรือตา อาการสำคัญของโรคไข้หวัด คือ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ มีไข้ต่ำๆ และปวดศีรษะ การรักษาและวิธีป้องกันโรคหวัด โรคหวัดนั้น มักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10-14 วัน ในเด็กบางคนอาจต้องกินยาแก้คัดจมูกและยาลดไข้...

ทำไมคนเป็นเบาหวานควรดูแลสุขภาพเท้า

ทำไมคนเป็นเบาหวานควรดูแลสุขภาพเท้า เบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดปัญหาต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น เหงือก ฟัน ตา ไต หัวใจ และระบบประสาทหลอดเลือดแดง ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรังนั้นมักมีหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เลือดไปเลื้ยงเท้าไม่พอจนอาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ทำให้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าลดลงหรือเกิดอาการปวดขณะเดินมากๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นแผลที่เท้าได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ผิวหนังบริเวณส่วนขาแห้งคัน เมื่อเกิดการเกา จะมีแผลแตกและติดเชื้อได้ง่าย หรือเมื่อความรู้สึกที่เท้าลดลง ขณะเดินก็จะเกิดแผลได้ง่าย จะรู้ตัวอีกทีแผลก็ติดเชื้อลุกลามไปมาก ทำให้ยากต่อการรักษา ซึ่งบางคนแผลลุกลามถึงกับต้องตัดขาทิ้ง สุขภาพเท้าสำคัญอย่างไรในผู้ป่วยโรคเบาหวาน...

มดลูกหย่อน คืออะไร

มดลูกหย่อน หรือ มดลูกต่ำ คืออะไร มดลูกหย่อน (Pelvic Organ Prolapse) คือ อาการที่มดลูกเคยอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน โดยมีกล้ามเนื้ออยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวเหน่าที่ทำหน้าที่ยึดมดลูก มีอาการขาดความแข็งแรงหรือถูกทำลาย และส่งผลให้มดลูกหย่อนหรือหลุดต่ำลงมาที่ช่องคลอด สาเหตุของมดลูกหย่อน เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อนยานเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจจเกิดจากการคลอดบุตรบ่อยๆ มีบุตรมาก ทารกตัวใหญ่ การเข้าสู่ภาวะวัยทองที่ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ท้องผูกมากจนทำให้เกิดการเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือแม้แต่การมีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงโรคเนื้องอกในมดลูกแล้วถ่วงจนทำให้มดลูกหย่อนยาน การยกของหนัก และการผ่าตัดมดลูก ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน   ความรุนแรงของภาวะการหย่อนตัวของมดลูก หย่อนคล้อยระยะที่...